ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
การทําหน้าที่กัลยาณมิตรระหว่างบุคคลต่อบุคคล
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น สามารถกระทำได้ทั้งในลักษณะบุคคลต่อบุคคล เช่น เพื่อนเป็น
กัลยาณมิตรให้เพื่อน หรือคุณสมพงษ์เป็นกัลยาณมิตรให้กับคุณธาดา เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง
คือการทำหน้าที่กัลยาณมิตรของบุคคลเพียงคนเดียวให้กับกลุ่มคน เช่น คุณครูเป็นกัลยาณมิตรให้กับนักเรียน
ทั้งชั้นเรียน เป็นต้น สำหรับในเนื้อหาของบทนี้ จะว่าด้วยการทำหน้าที่กัลยาณมิตรระหว่างบุคคลต่อบุคคล
แต่อย่างไรก็ตาม การจะทำหน้าที่กัลยาณมิตรในลักษณะใดนั้น จะต้องมีจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยหัวใจกัลยาณมิตร
ที่มุ่งเพียรพยายามแนะนำด้วยจิตเมตตา อดทนในทุกสภาวะ แม้บุคคลที่เราปรารถนาดีจะเป็นชนชั้นใดก็ตาม
ก็สามารถทำหน้าที่โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ปรารถนาอย่างเดียวให้เขามีความสุขที่แท้จริง ดำรงชีวิต
อย่างถูกต้องไม่เดือดร้อนตนเอง ชีวิตจะได้ไม่วิบัติหรือไม่ถูกอบายมุขครอบงำ
5.1 กรณีศึกษา “การได้พบกัลยาณมิตร ทำให้ชีวิตพบจุดเปลี่ยน”
เรื่องราวต่อไปนี้ เขียนโดย ธัน ธนวรรธ เป็นกรณีตัวอย่างของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง ที่พบกับ
จุดเปลี่ยนแปลงชีวิตจากการทำหน้าที่ของน้าที่ ชักชวนให้เข้ามาสู่เส้นทางธรรม โดยก่อนหน้านี้ได้ใช้ชีวิตที่
เหมือนกับชาวโลกทั่วไปที่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พร้อมสำหรับการจะเอื้ออำนวยให้เพื่อมีความสุขไม่น้อยหน้า
กว่าใครในสังคม แต่กลับพบว่าความสุขที่แฝงด้วยความทุกข์นั้น หาได้เติมเต็มให้กับชีวิตได้ จนกระทั่งได้เข้ามา
ศึกษาและปฏิบัติธรรม และได้พบสิ่งที่ขาดหายไปของชีวิต และในที่สุดก็ได้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้กับ
บุคคลอื่นได้อย่างน่าภาคภูมิใจ แต่ในที่นี้ เนื่องจากเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างประกอบการศึกษา แม้บุคคล
ในเรื่องจะยังมีชีวิตอยู่ และเรื่องราวนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทางวารสารออกสู่สาธารชนแล้วก็ตาม
จึงขอสงวนนามบุคคลในเรื่องไว้ และจะขอใช้นามสมมติแทน
คุณหมอผู้มีพร้อมในทางโลก
พจน์ ประภาพันธ์ ท่านเป็นแพทย์หญิง มีฐานะ มีอาชีพที่มีเกียรติที่สังคมยกย่อง มีอนาคตที่สดใส
มาตลอด ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีผลการเรียนดีจนกระทั่งสามารถสอบเข้าคณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ พอสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้ศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้าน
* นำมาจากวารสารอยู่ในบุญ ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2547 เขียนโดย ธัน ธนวรรธ
64 DOU ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร