ข้อความต้นฉบับในหน้า
7. ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
8. ไม่พูดชวนให้เกิดการทะเลาะวิวาท
จากลักษณะทั้ง 8 ประการดังกล่าว สามารถนำมาเป็นหลักการ เพื่อจะได้ศึกษาเปรียบเทียบจาก
เรื่องราวในพระไตรปิฎก ซึ่งกล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับอสูรตนหนึ่ง ซึ่งจะพบว่าพระพุทธองค์
ทรงมีกุศลวิธีในการอธิบายและยกอุปมาอุปมัย นอกจากจะมีความงาม ความไพเราะแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์
และไม่มีการหักล้างหรือมีลักษณะกล่าวขัดแย้ง กับผู้ที่พระองค์ร่วมสนทนาแต่อย่างใด ดังตัวอย่างที่
พระพุทธองค์ได้ตรัสกับอสูรชื่อ “ปหาราทะ” ดังปรากฏอยู่ใน “ปหาราทสูตร” ในอัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย
ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดา ที่เนตรยักษ์สิงสถิตใกล้กรุงเวรัญชา
ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า
“ดูก่อนปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาสัก
เท่าไรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ย่อมอภิรมย์”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า
“มี 8 ประการ พระเจ้าข้า 8 ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 1 ในมหาสมุทร ที่พวกอสูร
เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่งนี้ เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
อันไม่เคยมีมาประการที่ 2 ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่
ปหาราทสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 109 หน้า 399-406.
บ ท ที่ 3 ทั ก ษะการทำหน้าที่ กัลยา ณ มิ ต ร ท า ง ว า จ า
DOU 37