ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากหลักปฏิบัติทั้ง 7 ข้อดังกล่าว ถือเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐาน ที่ผู้จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรจะพึง
ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติจนเกิดความคุ้นเคย และสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ ดังตัวอย่างของการ
ทำหน้าที่กัลยาณมิตรของบุคคลดังต่อไปนี้
8.2 กรณีศึกษาที่ 1 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง
เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องประวัติการทำหน้าที่กัลยาณมิตรของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้
เข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดพระธรรมกายได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรม โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกายเป็นครูอาจารย์ แต่ใน
ที่นี้ของสงวนนามท่านไว้ เพราะวัตถุประสงค์ของเรื่องราวที่จะนำเสนอต่อไปนี้นั้น มุ่งจะแสดงให้เห็นวิธีการ
ทำหน้าที่กัลยาณมิตรของท่านเป็นประเด็นสำคัญ อนึ่ง เรื่องราวต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่อาจจะกล่าว
ถึงบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ ผู้ศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและควรที่จะแยกแยะ
บุคคล ตลอดจนสถานที่ จนสามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติได้ทั้งในวัดหรือสถาบันอื่นๆ เช่น วัดใน
ท้องถิ่น หรือโรงเรียนที่ตนจะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้
ก. ความเป็นมาก่อนมาทำหน้าที่กัลยาณมิตร
คุณหมอเข้าวัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดยมีกัลยาณมิตร ในการมาวัดครั้งแรกนั้นได้ไปกราบ
พระเดชพระคุณหลวงพ่อและคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง คุณหมอชอบในความ
สะอาดของวัด และประทับใจในศีลาจารวัตรและอัธยาศัยคุณยาย แต่หลังจากนั้นก็ขาดช่วงไปไม่ได้มาวัด
จนกระทั่ง พ.ศ. 2534 จึงได้มาวัดอีกครั้ง และมาวัดจนกระทั่งปัจจุบัน
ข. แรงบันดาลใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
หลังจากที่ได้ฟังธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้สัมผัสพระอาจารย์ ตลอดจนการมารู้จัก
กับน้องๆ ที่ดูแล ทำให้เข้าใจธรรมะและรู้ว่า เราไม่ใช่เกิดมาเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว แต่เราเกิดมา สร้าง
บารมี ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่า ในการสร้างบารมีนั้นต้องทำเป็นหมู่คณะ เราจะดีคนเดียวไม่ได้
เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราไม่ดี เราจะไม่สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในสังคมได้ ยิ่งมีอาชีพเป็นหมอจึง
เห็นคนไข้ เห็นความทุกข์ของคนไข้ จึงอยากจะใช้หน้าที่การงานให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ค. วิธีการในการทำหน้าที่
ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น แพทย์หญิงท่านนี้ได้กล่าวว่า ต้องเริ่มต้นที่ตัวเราต้องมีความจริงใจ
มีความปรารถนาดีต่อเขาก่อน แล้วสังเกตแต่ละคนว่าเขาพร้อมที่จะฟังสิ่งที่เราจะพูดไหม ช่วงเวลาไหนที่ควร
บ ท ที่ 8 ก า ร ทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิ บั ติ ก า ร
DOU 111