ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกาย DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 29
หน้าที่ 29 / 127

สรุปเนื้อหา

บทที่ 2 อธิบายถึงการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกาย โดยแบ่งคำสอนในพระพุทธศาสนาออกเป็น 2 ระดับ คือ โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการแสดงออกของมนุษย์ที่มีส่วนประกอบทั้งร่างกายและจิตใจ การเข้าใจพฤติกรรมภายนอกจะทำให้เราสามารถสร้างความประทับใจและการยอมรับจากผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงขันธ์ 5 ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้มนุษย์เกิดการรับรู้และแสดงออกเป็นพฤติกรรม.

หัวข้อประเด็น

-การทำหน้าที่กัลยาณมิตร
-โลกียธรรม
-โลกุตตรธรรม
-พฤติกรรมและการแสดงออกภายนอก
-ขันธ์ 5

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกาย หากเราจำแนกคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นแบบกว้างๆ พอให้เป็นเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วจะสามารถ แบ่งได้ 2 ระดับ ระดับแรก เป็นคำสอนที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่พบเห็นกันทั่วไปเป็น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสังคมโลกเรียกว่า “โลกียธรรม” ส่วนในระดับที่ 2 คือเรื่องที่อยู่เหนือ โลก หรือคือเรื่องที่ไม่ใช่วิถีชีวิตปุถุชนธรรมดาทั่วไป เรียกว่า “โลกุตตรธรรม” เป็นเรื่องที่ว่าด้วยปัญญา อันยิ่ง เช่น ว่าด้วยสภาวะแห่งความหลุดพ้น นิพพาน เป็นต้น การศึกษาเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกายนี้ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการแสดงออกทางกาย ที่จะ ทำให้เกิดการยอมรับและประทับใจแก่ผู้ที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรซึ่งในทางพระพุทธศาสนาถือว่าพฤติกรรม ต่างๆ ของมนุษย์ ย่อมเกิดมาจากปัจจัยภายในตัวของมนุษย์และปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้นหรือเร่งเร้า เช่น พฤติกรรมการบริโภค กล่าวคือ จะซื้ออะไร จะรับประทานอะไร นอกจากจะเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การได้รับการกระตุ้นเร่งเร้าด้วยการโฆษณา การเห็นสิ่งของต่างๆ สวยงาม รสอร่อย หรือกลิ่นหอม เป็นต้นแล้ว ย่อมจะทำให้มีความรู้สึกภายใน คือเกิดความอยากจะได้ อยากจะมี และมีความพยายาม จะแสวงหามาบริโภค หรือนำเอามาเป็นของตน ธรรมชาติของมนุษย์ดังกล่าวนี้ จะทำให้เราสามารถเข้าใจ ว่า พฤติกรรมการแสดงออกภายนอกของผู้ไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการที่ ผู้คนทั้งหลายย่อมจะสามารถแยกแยะได้ทันที ว่าใครเป็นคนดีควรเชื่อถือศรัทธา ก็มาจากการได้พบเห็น พฤติกรรมการแสดงออกภายนอกนั่นเอง 2.1 พฤติกรรมและการแสดงออกภายนอกของมนุษย์ พระพุทธศาสนาได้จำแนกอธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ที่แสดงออกมาจากธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งส่วนที่เป็นร่างกายและส่วนที่เป็นจิตใจ ว่ามีส่วนประกอบขึ้นมาอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ได้รู้สึกรับรู้สิ่ง ภายนอกที่มากระทบหรือกระตุ้นจนเกิดความรู้สึกขึ้นภายใน และมีการแสดงออกเป็นพฤติกรรมภายนอก ซึ่งอธิบายไว้ในหมวดธรรมว่าด้วย ขันธ์ 5 ดังนี้ หลักคำสอนว่าด้วยขันธ์ 5 นี้ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวมนุษย์ที่รับรู้หรือมีประสบการณ์ หรือก็คือการกล่าวถึงองค์ประกอบของตัวมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจว่าเกิดจากการรวมกันขึ้นขององค์ ประกอบ 5 อย่าง ซึ่งทำให้เกิดการรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อันเป็นผล อรรถกถาอโนตตปีสูตร, ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 26 หน้า 548-9. 20 DOU ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More