การบูรณาการความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืน DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 102
หน้าที่ 102 / 127

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตรในองค์กรศาสนา โดยเน้นการบูรณาการความรู้จากหลายศาสตร์เพื่อนำไปสู่การทำงานอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กร และการเผชิญกับภัยคุกคามภายนอก การประยุกต์ใช้วิทยาการบริหารสมัยใหม่ร่วมกับแนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างแนวทางการทำงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โครงการของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ที่ส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับนานาชาติเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-การบูรณาการความรู้
-การทำหน้าที่กัลยาณมิตร
-การพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร
-การประยุกต์ใช้วิทยาการบริหาร
-โครงการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความสำเร็จในธุรกิจการงาน และมีชื่อเสียง บุคคลเหล่านี้นั่นเอง คือโอกาสในการช่วยงานพระพุทธศาสนา ทำอย่างไรที่จะให้ท่านเหล่านั้นมาช่วยงานการขยายเครือข่ายคนดีได้ นี่คือโอกาส ทำยังไงจะใช้ศักยภาพ และฝีมือของแต่ละท่าน มาช่วยงานทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้ได้มากๆ เพื่อระดับความยากของงานสำหรับ บุคลากรจะได้ลดลงไป Threat คือ ภัยคุกคามจากภายนอก ยกตัวอย่าง เช่น ภาพพจน์ขององค์กรที่อาจจะยังไม่เป็นที่ เข้าใจของบุคคลภายนอก ทำให้การจะไปแนะนำและทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้น สิ่งนี้คือภัยคุกคาม ทำอย่างไร เราถึงจะแก้ภาพพจน์ได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการต่างๆ ที่เราได้มีการปรับปรุงและเชื่อว่าใช้แล้วบังเกิดผลดี สิ่งนั้นเราต้องรู้ รู้แล้วก็ต้องไปกำหนดอนาคต พอรู้อนาคต เช่น จากวันนี้เราจะกำหนดว่า เราอยากไปถึงเป้าหมาย จะทำได้ อย่างไร วิสัยทัศน์เราเป็นอย่างไร เรามาระบุเป้าหมาย ทางองค์กรของเราเองก็ต้องมีการกำหนดวิธีการว่าเรา จะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย บรรลุวิสัยทัศน์นั้นๆ และเรามักจะได้ยินว่า องค์กรทางศาสนาอันเป็น องค์กรที่อยู่ได้ด้วยศรัทธาของประชาชนนั้น ซึ่งนอกจากจะไม่แสวงหาผลกำไรแล้ว ยังไม่ค่อยรู้จักการนำ เอาวิทยาการบริหารสมัยใหม่มาใช้ ดังนั้น สิ่งที่เป็นเรื่องน่าท้าทายตามมาก็คือ การที่จะประยุกต์ และประสาน หรือบูรณาการ ความรู้ในเชิงบริหารธุรกิจเหล่านั้น กับองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา มาใช้ให้เกิดความ กลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไร ซึ่งจากวิธีการดังกล่าว ทำให้เราได้ข้อคิดหลายประการ และมีข้อ สังเกตที่สำคัญตามมา ก็คือ วิธีการดังกล่าวจะบังเกิดผลดีได้ เราจะต้องลงมือทำและนำวิธีการนั้นนำมาใช้ อย่างเหมาะสม 7.3 การบูรณาการความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืน การบูรณาการความรู้และวิธีการต่างๆ เพื่อการทำหน้าที่แบบยั่งยืน เป็นรูปแบบการทำหน้าที่ กัลยาณมิตรที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้จากหลายสาขาและเทคนิควิธีการหลายแบบ มาบูรณาการจนบังเกิดผลเป็นระยะๆ และยังเป็นการวางรากฐานเพื่อให้เกิดผลดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากจะบังเกิดอย่างยั่งยืนแล้ว ยังสามารถแผ่ขยายไปในวงกว้างได้ ซึ่งตัวอย่างของการบูรณาการ การนำความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืนนั้น พบว่า โครงการของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เพื่อการรณรงค์และกิจกรรมเพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นโครงการหนึ่งที่มีความชัดเจนในการบูรณาการความรู้ต่างๆ เช่น การอบรมศีลธรรม สอนการทำสมาธิ จิตวิทยา สาธารณสุข และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น การศึกษา ศีลธรรมทางไกลผ่านดาวเทียม ตลอดจนการใช้สื่ออุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ มาใช้ จนปรากฏผลดี ดังพบว่า โครงการนี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก(World Health Organization - WHO) ได้ถวายรางวัลแด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์มาแล้วในปี พ.ศ.2547 บทที่ 7 การ ทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงบูรณาการ DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More