หลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 19
หน้าที่ 19 / 127

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาวิเคราะห์บทบาทของบุคคลในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรผ่านการเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลและการสอนในพระพุทธศาสนา ที่ชี้นำหลักปฏิบัติสำหรับสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม ซึ่งรวมถึงการศึกษาและน้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใช้เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความเป็นระเบียบในสังคม ตัวอย่างจากสิงคาลกสูตรได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ถูกต้องและการบูชาทิศที่มีความหมาย

หัวข้อประเด็น

-หลักมนุษยสัมพันธ์
-การเป็นกัลยาณมิตร
-การเข้าใจความแตกต่างของบุคคล
-บทบาทของพระพุทธเจ้าสำหรับสังคม
-สิงคาลกสูตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในการงาน พูดให้เข้าใจด้วยความมีเหตุผล ดังนั้น หากเราเข้าใจในความแตกต่างของบุคคลทั้งหลายว่า มีจริตและมีอุปนิสัยแตกต่างกัน ย่อมจะทำให้เราสามารถที่จะเตรียมตัวและเตรียมบทธรรมะต่างๆ เพื่อแนะนำ ดังที่ได้จำแนกมาข้างต้นนี้แล้ว แก่บุคคลต่างๆ ได้ตรงกับจริตและอุปนิสัยเหล่านั้นได้ ซึ่งย่อมหมายถึงการที่เราทำหน้าที่กัลยาณมิตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4 หลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร มีคำสอนที่น่าศึกษาในพระพุทธศาสนาคือ หลักการปฏิบัติเพื่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ถูกต้องดีงามใน สังคม ทั้งนี้เพราะว่ามนุษย์ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวลำพังในโลก แต่ยังต้องติดต่อและมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ต่างก็มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านนิสัย พื้นฐาน แม้กระทั่งมีสถานะที่แตกต่างกัน เช่น มีสถานะเป็นเพื่อน เป็นบิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น ดังนั้น การที่บุคคลแต่ละคนจะกระทำ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลอื่นๆ ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษา และนำมาปฏิบัติ เพื่อเป็นการ สร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีอีกด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงหลักการมีมนุษยสัมพันธ์ดังกล่าวไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้ง ถือว่าเป็นการวางแบบแผนของสังคมที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ในทุกฐานะ และยังสามารถ นำความสงบสุข มาสู่สังคมได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่า แม้พระพุทธองค์จะไม่ได้ประกาศตนว่าเป็นนักปฏิวัติสังคม แต่คำสอนของพระองค์ก็ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม และแสดงหลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไว้ อย่างดีงาม ดังปรากฏในสิงคาโลวาทสูตร (หรือสิงคาลกสูตร) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เปรียบเสมือนเป็นวินัยของ ผู้ครองเรือนทั้งหลาย สิงคาโลวาทสูตร เป็นเรื่องที่กล่าวถึงชายคนหนึ่งชื่อสิงคาลกะ บิดาเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่ตัวเขาศรัทธาในความเชื่ออย่างอื่น แม้จะได้รับการชักชวนจากบิดาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สิงคาลกะ เห็นว่าไปแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร ดังนั้น ก่อนที่บิดาจะเสียชีวิตได้บอกสิงคาลกะว่าให้บูชาทิศทั้ง 6 ด้วย หวังว่าการกระทำของสิงคาลกะ จะทำให้เมื่อใดพระอรหันต์ท่านได้มาได้เห็นแล้ว จะได้ชี้แนะว่าการบูชาทิศ ทั้ง 6 นั้นมีความหมายว่าอย่างไร หลังจากบิดาของสิงคาลกะเสียชีวิตไปแล้ว ปรากฏว่าในเวลาต่อมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไป พบสิงคาลกะกำลังไหว้ทิศทั้งที่ตนเองไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไร และพระพุทธองค์จึงได้ตรัส อธิบาย และสั่งสอนถึงการบูชาทิศทั้ง 6 ที่ถูกต้องนั้น เป็นเช่นไร โดยพระพุทธองค์ตรัสอธิบายความหมายของ แต่ละทิศไว้ ดังนี้ สิงคาลกสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 16 หน้า 114-122. 10 DOU ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More