ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้ยังมีการอบรมอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในแต่ละปีเป็นจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งผู้เข้า
รับการอบรมทุกโครงการที่จัดขึ้น มีข้อปฏิบัติในการงดบุหรี่ และควบคุมการอบรมให้เป็นเขตปลอดบุหรี่
ง. การรณรงค์ผ่านสื่อ และโทรทัศน์ดาวเทียม “ฝันในฝัน”
การรณรงค์เพื่อให้เลิกบุหรี่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการใช้สื่อที่เหมาะสมและมีพลัง นับตั้งแต่ปี
2546 เป็นต้นมา วัดพระธรรมกายโดยการอำนวยการของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ขยายทัศนคติ “หักดิบ
เลิกบุหรี่” นี้ไปยังพระภิกษุและสาธุชนทั่วประเทศโดยผ่านสื่อต่างๆ ผสมกับสื่อบุคคลช่วยตอกย้ำทัศนคติ
ให้มั่นคงยิ่งขึ้น อาทิ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วารสารกัลยาณมิตร วารสารตะวันธรรม
วารสารสหธรรมิก วารสารพระสังฆาธิการ วารสารภาษาอังกฤษ The Light of Peace และเอกสารประเภท
แผ่นพับ บัตรอวยพร ตามวาระโอกาสต่างๆ สไลด์มัลติวิชั่นและวีดีโอธรรมะทั้งภาษาไทย อังกฤษ จีน และ
ญี่ปุ่น รายการวิทยุประจำชื่อ รายการธรรมะเพื่อประชาชน
นอกจากนี้ได้นำสื่อใหม่มาใช้ คือ สื่ออินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บไซท์เฉพาะของวัด เช่น www.dmc.tv,
www.dhammakaya.or.th, www.kalyanamitra.org เป็นต้น และสื่อล่าสุด คือ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
นำเสนอรายการตลอด 24 ชั่วโมง โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์จะเทศน์ผ่านรายการ “ฝันในฝัน” เป็นประจำ
ทุกคืนตั้งแต่วันจันทร์ - เสาร์ ตั้งแต่เวลา 19.30 - 21.45 น. ในปัจจุบันมีสมาชิกนับแสนคน จะมีช่วง
“เทเหล้า เผาบุหรี่” ความยาวประมาณ 30 นาที นำเสนอเรื่องราวที่ประชาชนแต่ละกลุ่มพร้อมใจกัน
จัดพิธีประกาศสัตยาบันไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่อีกต่อไป เนื่องจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้เล็งเห็นความจำเป็น
ของการเลิกบุหรี่เป็นอย่างมาก ในรายการท่านตอกย้ำตลอดมาว่า การดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่มักจะเป็น
ของคู่กัน คนที่สูบบุหรี่แม้เมื่อตั้งใจเลิกแล้ว ครั้นไปเข้าวงเหล้าก็มักจะหันไปสูบบุหรี่ตามเพื่อน จึงเป็นความ
จำเป็นที่จะต้องเลิกดื่มเหล้าพร้อมกันไปด้วย ท่านได้ชี้ให้เห็นโทษภัยของเหล้าและบุหรี่ทั้งในภพนี้และภพหน้า
นำข่าวทั้งจากภายในและนอกประเทศมานำเสนอให้เห็นความเคลื่อนไหวเพื่อการเลิกบุหรี่ในระดับโลก
นอกจากนี้ ท่านสร้างความมีส่วนร่วมของคนในภูมิภาคต่างๆ โดยได้นำเอาวัฒนธรรมพื้นบ้าน
แต่ละท้องถิ่นมาประกอบรายการเทเหล้าเผาบุหรี่ สร้างสรรค์เนื้อหาเกี่ยวกับการ "หักดิบ” เลิกเหล้าและบุหรี่
ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงและจังหวะดนตรีที่เร้าใจ เช่น เพลงโคราช หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดิเกร์ฮูลู ของชาวใต้ กลองสะบัดไชยของภาคเหนือ เพลงคันทรี่ นอกจากนี้ยังให้กำลังใจ และสรรเสริญผู้ที่
สามารถเลิกได้โดยมีบทเพลง “สดุดีผู้กล้า” แต่งเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของบุคคลระดับต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ถูกจัดขึ้นโดยเครือข่ายภาคประชาชนมีการตั้ง
เวทีในที่สาธารณะ เพื่อสร้างความสนใจแก่ประชาชนทั่วไป มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ข้าราชการจังหวัด
อธิการบดี รองอธิการบดี นายทหาร ตำรวจ เข้ามาเป็นประธานและสักขีพยานในพิธี ปรากฏว่าที่ผ่านมา
ได้มีทั้งนิสิต นักศึกษาประชาชน จัดรายการเทเหล้า เผาบุหรี่ และปวารณาตนไม่ดื่มเหล้าและไม่สูบบุหรี่อีก
ต่อไป
บทที่ 7 การ ทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงบูรณาการ DOU 97