ข้อความต้นฉบับในหน้า
และชี้ทางให้ผู้ครองเรือนทั้งหลาย ให้มีความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ หรือหากยังขาดตกบกพร่องในสิ่งใดก็จะ
สามารถแนะนำให้เขาเหล่านั้นมุ่งแสวงหาในทางที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระพุทธองค์ ได้เคยตรัสกับเศรษฐีท่านหนึ่งชื่ออนาถปิณฑิก
ว่าด้วย ความสุขของคฤหัสถ์ ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ อัตถิสุข หรือ ความสุขเกิดจากการมี
ทรัพย์ โภคสุข หรือ ความสุขเกิดจากการได้จ่ายทรัพย์ อนนสุข หรือความสุขจากการไม่มีหนี้ และ
อนวัชชสุข หรือ ความสุขจากการทำงานไม่มีโทษ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากการมีทรัพย์) หมายถึง ความสุขจากการมีทรัพย์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรม
ไม่ได้มาจากการประกอบอาชีพที่ต้องห้าม หรือจากการทำความเดือดร้อนให้คนอื่น
2. โภคสุข (สุขเกิดจากการได้จ่ายทรัพย์) หมายถึง ความสุขจากการได้ใช้ทรัพย์ เป็นการใช้จ่าย
ทรัพย์อย่างเหมาะสมกับทรัพย์ที่มีอยู่ นั่นคือไม่ฟุ่มเฟือย หรือใช้ไปในสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง เช่น
สุรา ยาเสพติด เป็นต้น แต่ใช้อย่างมีประโยชน์ เช่น ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ย่อมหมายถึงการเอื้อเฟื้อ
แบ่งปันช่วยเหลือบุคคลอื่นอีกด้วย
3. ถนนสุข (สุขเกิดจากการไม่มีหนี้) หมายถึง ความสุขที่บุคคลเป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะการเป็นหนี้
เป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง ตรงกันข้ามการไม่มีหนี้ถือเป็นโชคดีของบุคคลทั้งหลาย
4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากการทำงานไม่มีโทษ ) หมายถึง การดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เช่น
ยึดมั่นในศีล 5 เป็นต้น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนหรือเป็นพิษภัยต่อบุคคลอื่น
ดังนั้น ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวโลก ซึ่งยังต้อง
ทำมาหากิน ยังต้องแสวงหา ตลอดจนยังมีการต่อสู้แข่งขัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะทำให้เกิดความสุข หาก
ยังไม่ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้บุคคลทั้งหลาย มีความกังวล ยังอยู่ในวงจรชีวิตของการแสวงหา และยัง
อยู่ในความไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนกำลังแสวงหานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ถ้าหากบุคคลใดมีพร้อมใน 4 ประการ
ข้างต้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสุขในชีวิตของการครองเรือน แต่ถ้ายังขาดหรือยังไม่สมบูรณ์ในสิ่งใดก็สามารถ
แนะนำให้บุคคลเหล่านี้ มีการพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ โดยยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็น
แนวทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในพระพุทธศาสนาได้จำแนกความสุขไว้อีก 2 ประการ คือ ความสุขที่อิงอามิส
และความสุขที่ไม่อิงอามิส กล่าวคือมีทั้งความสุขที่อาศัยวัตถุและความสุขที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุ ดังนั้น จึงเป็น
สิ่งจำเป็นที่ผู้ไปทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรจะได้แนะนำบุคคลทั้งหลายให้ตระหนักว่าแม้จำเป็นที่จะต้องแสวงหา
ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ก็ควรจะมุ่งแสวงหาความสุขที่ไม่อาศัยวัตถุ ซึ่งจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาแสวงหา
หรือต้องดิ้นรนต่อสู้มากเกินไป บางทีอาจจะได้มาด้วยการแก่งแย่ง แข่งขัน หรือบางทีอาจจะนำไปสู่
อันนนาถสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก.เล่ม 35 หน้า 205-6.
บท ที่ 1 ทั ก ษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น
DOU 7