ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. การจัดเก็บข้อมูล จัดเป็นหมวดหมู่เป็นประเภทให้เข้าใจง่าย และใช้งานได้ง่าย เชื่อมโยงข้อมูลได้
ค้นหาสะดวก สามารถรู้แหล่งข้อมูล รู้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร
3. การสังเกต รับรู้เห็นถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งใกล้ตัวและไกลตัว สิ่งที่เล็กจนถึงสิ่งที่ใหญ่ รับรู้
ถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น ส่วนประกอบของสิ่งนั้น แต่ละส่วนเป็นอย่างไร เห็นถึงความเหมือนและแตกต่าง
กัน ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อย
4. นำเสนอ การนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การสนทนา เอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย สื่อโสตทัศน์ ตลอด
จนนำเสนอ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ว่าควรนำเสนอด้วยวิธีใดที่เหมาะสมกับสภาวะ ทั้งเวลา
และสถานที่ ส่วนผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ง่าย และสนใจที่ได้รับรู้ด้วย
5. การประสานงาน การติดต่อเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเชื่อมให้เป็นส่วนเดียวกัน
งานนั้นมีการร่วมมือกัน ขับเคลื่อนงานไปไม่ขัดแย้งกัน ไม่กระทบให้เกิดความเสียหายต่อกัน เชื่อมทั้งสิ่งมี
อยู่เดิมกับสิ่งที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หนุนให้งานหรือกิจกรรมสมบูรณ์ขึ้นได้ และรวดเร็วขึ้น
6. การวิเคราะห์ การรวมข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ แล้วนำมาแยกแยะได้ ทำความ
เข้าใจข้อมูลเนื้อหาได้ชัดเจน เปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีแง่มุมแตกต่างกันไป ด้วยเหตุด้วยผลรู้ว่าดีหรือ
ไม่ดีจริง สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน
7. ติดตามผลสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว มีผลคืบหน้าอย่างไร เป็นไปตามที่คาดหวังไหม สอดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายหรือไม่ ได้ผลเพียงไรบ้าง
8. ประเมินผลการรวบรวมข้อมูลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วนำมาวิเคราะห์ ผลลัพธ์ในทางสถิติ เป็น
ข้อสรุปในการตัดสินใจของสิ่งนั้น ว่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ถ้าข้อมูลพร้อมครบถ้วนถูกต้อง จะมีผลให้
การประเมินผลได้ตรงเป้าหมาย
กิจกรรม
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 7 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงบูรณาการ จบโดยสมบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 7
แล้วจึงศึกษาบทที่ 8 ต่อไป
106 DOU ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร