การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการ DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร หน้า 126
หน้าที่ 126 / 127

สรุปเนื้อหา

บทเรียนนี้เน้นการทำหน้าที่กัลยาณมิตรและการฝึกฝนตนเองในแนวทางของพระโพธิสัตว์ โดยยกตัวอย่างคำสอนในพุทธศาสนาเกี่ยวกับการสำรวมกาย วาจา ใจ และคุณธรรมของบุคคลที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนควรทำการประเมินตนเองหลังจากศึกษาเพื่อเห็นพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการช่วยเหลือกัลยาณมิตรผู้ตกยากทุกครั้งที่มีโอกาส.

หัวข้อประเด็น

-บทเรียนการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
-การพัฒนาคุณธรรม
-ศึกษาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์
-บทบาทและหน้าที่ในสังคม
-การประเมินตนเองหลังเรียน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้น หากบุคคลต้องการจะอุทิศตนทำหน้าที่กัลยาณมิตร และฝึกฝนตนเองบนเส้นทางเยี่ยง พระ โพธิสัตว์ ย่อมจะเป็นบุคคลที่ได้เพิ่มพูนคุณธรรมในตน ดังพุทธสุภาษิตตอนหนึ่งว่า “ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพร่อยๆ เพราะเหตุแห่งตนบัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล ผู้ใดคิดปัญหาอันลึก ซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์ อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีปัญญา ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดย เต็มใจ บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ” กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 8 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 8 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 8 สรภังคชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 61 ข้อ 2466 หน้า 584. บทที่ 8 การ ทำ หน้าที่ กัลยาณมิตรเชิง ป ฏิ บั ติ ก า ร DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More