ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 1
สมาธิ คืออะไร
เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤาษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่
ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการ
พัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น
สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์สุขต่อชีวิตในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยัง
สมาธิถือเป็นเรื่อง
สากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็
สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะ
สอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมายหรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะ
เป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม
มีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้
1.1.1 กาย
1.1 ส่วนประกอบของมนุษย์
การปฏิบัติสมาธิ แม้จะเป็นเรื่องของการอบรมทางจิตใจ แต่ก็ยังมีความ
สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับทางกาย ทั้งนี้หากจะกล่าวโดยทั่วไปนั้น คนเราจะมีส่วนประกอบ
ใหญ่ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ กาย กับใจ
กาย คือ ส่วนที่เป็นเนื้อ หนัง กระดูก ปอด ตับ หัวใจ ไต ฯลฯ ตามที่เรา
เห็นกันอยู่แล้ว ประกอบขึ้นด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ส่วนหนึ่งของร่างกาย
ประกอบด้วยธาตุส่วนที่ละเอียดมาก เรียกว่า ประสาท มีอยู่ 5 ส่วน ด้วยกันคือ
ประสาทตาใช้ดู ประสาทหูใช้ฟัง ประสาทจมูกใช้ดม ประสาทลิ้นใช้ลิ้มรส ประสาท
กายใช้สัมผัส
1.1.2 ใจ
ดวงใจ คือธาตุกายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งครองอยู่ในร่างกายคนที่ยังมีชีวิตอยู่
ใจนี้ไม่ใช่หัวใจ เพราะหัวใจเป็นกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ใจอยู่ในลักษณะ
ของพลังงานจัดเป็นนามธรรมมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและไม่สามารถใช้เครื่องมือทาง
4 DOU บ ท ที่ 1 ส ม า ธิ คื อ อ ะ ไ ร