ข้อความต้นฉบับในหน้า
ผู้ครองเรือน เมื่อสมาธิสามารถจรรโลง ชักนำ ชี้ชวน ให้ผู้ครองเรือนเหล่านี้อยู่ในเส้นทางแห่งเมตตา
ธรรมและคุณธรรมได้ สมาธิ จึงได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถทำให้โลกสงบได้
สมาธิ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ครองเรือนผู้ปรารถนาความสงบรุ่งเรืองในชีวิตไม่อาจมองข้าม แต่กลับต้อง
ให้ความสำคัญในการที่จะฝึกฝน ปฏิบัติ เพราะสมาธิคือพื้นฐานของความรุ่งเรืองทั้งมวล
5.2 ประโยชน์ของสมาธิและสุขภาพ
5.2.1 มนุษย์กับโรคภัยไข้เจ็บ
เหนือความสำเร็จใดๆ ของมนุษย์ สิ่งที่เป็นความปรารถนาอันสำคัญของแต่ละบุคคลคือการเป็น
ผู้มีสุขภาพพลานามัยดี แต่ปัจจุบันสังคมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขของการมีชีวิตที่ดีในสังคม
ก็มีการเปลี่ยนไป เช่น มีการแข่งขัน และเกิดภาวะตึงเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจแม้อายุขัย
โดยเฉลี่ยของมนุษย์จะยืนยาวขึ้น แต่โรคภัยไข้เจ็บที่มีอาการสลับซับซ้อนและยากแก่การรักษาก็เกิดขึ้น
ตามมาอีกด้วย เช่น โรคมะเร็ง เอดส์ หรืออาการทางจิตประสาทที่เกิดจากความตึงเครียดในชีวิต
ทำให้การแพทย์สมัยใหม่เริ่มมีการค้นคว้าและเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะมาบำบัดและช่วยให้ชีวิตมนุษย์
ในโลกปัจจุบันดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติสุข แต่การค้นคว้าดังกล่าวล้วนมุ่งดำเนินไปในทางวัตถุ ส่วนใน
ทางจิตใจนั้น เราจะพบว่าในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมและข้อปฏิบัติต่างๆ ที่สามารถเป็นแนวทางที่จะ
นำมาซึ่งความสงบสุขทางจิตใจ และส่งผลต่อความมีสุขภาพดีทางร่างกายด้วย โดยเฉพาะเรื่องของ
การฝึกสมาธิที่ผู้คนทั้งหลายสามารถประพฤติปฏิบัติและสัมผัสผลดีได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ มนุษย์ ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใด ในทางพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าเป็นขันธ์
5 หรือกองแห่งรูปธรรมและนามธรรมที่มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยรวม ส่วนประกอบทั้ง 5 อย่างนั้น
ในพระสุตตันตปิฎกได้กล่าวไว้ ได้แก่
1. รูป คือ ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม ตลอดจนส่วนประกอบอันเป็นวัตถุภายนอก และ
คุณสมบัติต่างๆ
2. เวทนา คือ ส่วนประกอบที่มีความรู้สึก หรือที่เป็นการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ
ซึ่งเกิดจากการรับหรือสัมผัสมาจากทวารทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และอารมณ์ทางใจ
3. สัญญา คือ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ หรือจำได้หมายรู้ในลักษณะ เครื่องหมายต่างๆ
เช่น รูปร่าง สีสัน กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์
4. สังขาร คือ ส่วนประกอบ หรือสภาพปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ
58 DOU บ ท ที่ 5 ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง สมาธิ กั บ ชี วิ ต ประจำวัน