ประโยชน์ของสมาธิในพระพุทธศาสนา MD 101 สมาธิ 1  หน้า 85
หน้าที่ 85 / 117

สรุปเนื้อหา

สมาธิเป็นการฝึกจิตที่ช่วยให้ผู้คนพบสุขทันตาเห็น โดยมีอานิสงส์ 4 ประการคือ การได้พบสุข การได้รับญาณทัสสนะ การมีสติสัมปชัญญะ และการกำจัดอาสวกิเลส หลายคนอาจแบกภาระต่างๆ แต่การทำสมาธิจะช่วยให้ใจเบาลง และทำให้สามารถปล่อยวางความกังวลได้ สร้างความสุขที่แท้จริงให้กับชีวิต คำสอนของพระพุทธเจ้าเน้นให้คนทุกคนปรารถนาความสุขจากประสบการณ์เชิงบวกต่างๆชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-สมาธิในพระพุทธศาสนา
-อานิสงส์ของสมาธิ
-การปล่อยวางและความสุข
-คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.1.2 สมาธิสูตร สมาธินั้นมีประโยชน์มากมาย โดยพระพุทธองค์ได้ทรงชี้ให้เห็นอานิสงส์ของสมาธิใน สมาธิสูตร ไว้ 4 ประการ คือ 1. พบสุขทันตาเห็น 2. ได้ญาณทัสสนะ 3. มีสติสัมปชัญญะ 4. กำจัดอาสวกิเลสได้ 1. พบสุขทันตาเห็น ประโยชน์ของสมาธิที่ทำให้พบสุขทันตาเห็น พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว) ได้อธิบาย ขยายความไว้ดังนี้ * ความสุขเบื้องต้น สมาธิเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสุข ทุกวันนี้ทุกลมหายใจเข้าออกของชาวโลกต่างพะวงอยู่แต่เรื่องนอก กายเป็นส่วนมาก เช่น ห่วงบุตรบ้าง ห่วงภรรยาบ้าง ห่วงงานบ้าง ฯลฯ ถ้าห่วงสิ่งไรก็ต้องเอาธุระต่อสิ่งนั้น เราเรียกการเอาธุระต่อสิ่งภายนอกเหล่านี้ว่า แบก เริ่มแรกก็แบกตนเองก่อน ต่อมาก็แบกภรรยา แบกลูก แบกหลาน แบกทรัพย์สมบัติ แบกบ้านเรือน แบกประเทศ ไม่ช้าก็แบกโลกทั้งโลกโดยไม่รู้ตัว ครั้นแบกมากเข้าก็เหนื่อยหรือเกิดอาการตึงเครียด แต่ถ้าเขาเหล่านั้นรู้จักการปล่อยใจผ่อนคลาย ด้วยการทำสมาธิ ใจเขาจะหยุดห่วงธุระต่างๆ ที่ทนแบกหามาสุมตนเองไว้โดยไม่จำเป็น สิ่งเหล่านั้นก็จะ ร่วงหล่นไปเอง กาย ใจก็เบาลง ได้รับความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ดังนั้น ในระดับเบื้องต้นของผู้ที่ฝึกสมาธิ แค่เพียงปล่อยวางจิต ให้ผ่อนคลายจากเรื่องราวต่างๆ แค่นี้ก็เป็นความสุขในเบื้องต้นของการทำสมาธิ ยังไม่ต้องกล่าวถึงความสุขที่ยิ่งๆ ขึ้นไป * ความสุขที่แท้จริง ความสุขเป็นรากฐานของชีวิตทั้งมวล ทุกชีวิตต่างปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า สุขกามานิ ภูตานิ สัตว์โลกทั้งหลายปรารถนาความสุขจากการได้เห็น การได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และได้จากการนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ * สมาธิสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 41 หน้า 155-157 * พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : อักษรสมัย, 2537), หน้า 42-47. บ 72 DOU บ ท ที่ 6 ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง ส ม า ธิ ใน พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More