การเข้าถึงพระธรรมกายผ่านอาโลกกสิณ MD 101 สมาธิ 1  หน้า 49
หน้าที่ 49 / 117

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิจำเป็นต้องมีฐานที่ตั้งของใจเพื่อให้เข้าถึงความสงบ โดยใช้การนึกถึงดวงอาโลกกสิณที่เป็นดวงแก้วกลมใส ตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ในกระบวนการนี้จะต้องมีความใจเย็นและไม่บังคับอารมณ์ เมื่อดวงนิมิตปรากฏ ณ จุดนี้ ให้ตั้งสติและค่อยๆ เพิ่มระดับความเข้มข้นของสมาธิจนเกิดการปรากฏของดวงกลมที่ใสและสว่างขึ้น จากนั้นสามารถปรับสติไปที่ส่วนกลางของดวงนิมิตได้อย่างมั่นคง

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-อาโลกกสิณ
-ฐานที่ตั้งจิต
-พระธรรมกาย
-ความสงบทางใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กําหนดอาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่าง เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสสนิท ปราศจากราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นึกไปภาวนาไป อย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้ว กลมใส ให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิทปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่า นิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้ วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลาง กาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งซ้อนอยู่ ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูก ส่วน แล้วจากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุด ซ้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ 3.2.2 ฐานที่ตั้งของใจเพื่อการเข้าถึงพระธรรมกาย ฐานที่ตั้งของใจมีความสำคัญมากต่อการฝึกสมาธิ เพราะการแสวงหาความสงบทางใจ จำเป็นต้องหาหลักให้ใจเกาะ ใจจึงจะยอมสงบได้ ถ้าใจไม่มีหลักให้เกาะก็จะลอยเคว้งคว้าง ถ้า ลอยไปไกลมากเกินไปก็จะกลายเป็นคนเสียสติ ถ้าลอยอยู่ใกล้ๆ ก็หลงบ้างลืมบ้าง จำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าอยู่ในตัวก็เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ อุปมาเหมือนชาวนาเลี้ยงควายก็จำเป็นต้องผูกควายไว้กับหลัก มิฉะนั้น ถ้าควายหลุดจากหลักได้เมื่อใด ก็จะขวิดกันเองบ้าง ขวิดต้นไม้บ้าง หรือขวิดแม้กระทั่งเจ้าของ ถึงคราวจะ ใช้งาน มันก็หนีเตลิดไป ชาวเรือก็เช่นกัน จำเป็นต้องผูกเรือไว้กับหลัก ถ้าไม่ผูก เรือก็จะหลุดลอยไปตามน้ำ ลอยไปลอยมาก็จะถูกเรืออื่นชนเสียหาย แม้ประชาชนก็ต้องมีผู้ปกครอง หรือหัวหน้าเป็นหลัก ถ้าไม่มีผู้ปกครองเป็นหลัก หรือหลักไม่ดี ก็เกิดการจลาจลวุ่นวายไปทั้งเมืองได้ หลักสำหรับเกาะ จึงมีความจำเป็นมาก ไม่ว่าในกิจกรรมใดๆ ฉะนั้น ก่อนฝึกสมาธิก็ต้องหาหลักให้ใจเกาะเป็นที่เป็นทางแน่นอนเสียก่อน เรานิยมเรียกหลักที่ไว้ ให้ใจเกาะว่า “ฐานที่ตั้งจิต” พระมงคลเทพมุนี ได้กล่าวถึงฐานที่ตั้งของจิตว่ามีอยู่ 7 ฐานด้วยกัน คือ ฐานที่ 1 ตรงปากช่องจมูก ถ้าเป็นหญิงก็ตรงปากช่องจมูกซ้าย ถ้าเป็นชายก็ตรงปากช่องจมูกขวา ฐานที่ 2 ตรงเพลาตา ถ้าเป็นหญิงก็ตรงเพลาตาซ้าย ถ้าเป็นชายก็ตรงเพลาตาขวา 36 DOU บ ท ที่ 3 รู ป แ บ บ ข อ ง ก า ร ฝึกสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More