การเข้าถึงธรรมกายและการฝึกสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา MD 101 สมาธิ 1  หน้า 36
หน้าที่ 36 / 117

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเข้าถึงธรรมกายที่บริสุทธิ์ซึ่งหลุดพ้นจากกิเลส และการปฏิบัติสมาธิอย่างถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา จะช่วยนำไปสู่ความสุขในชีวิต ทุกคนสามารถเข้าถึงธรรมกายที่มีอยู่ในตัวเองได้โดยการฝึกสมาธิที่เหมาะสม เช่น การตั้งฐานที่ 7 ที่ถูกต้อง และการฝึกสมาธิจากกสิณ 10, อสุภะ 10, อาหารเรปฏิกูลสัญญา 1 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจำแนกประเภทของสมาธิตามจุดตั้งของใจ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นการฝึกสมาธิภายในและภายนอก มีเป้าหมายเพื่อไม่ให้ใจฟุ้งซ่าน และช่วยให้เข้าถึงความสงบและความสุขที่แท้จริงในชีวิต ติดต่อ dmc.tv เพื่อเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการฝึกสมาธิและการพัฒนาจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

- ธรรมกาย
- การฝึกสมาธิ
- ฐานที่ 7
- ความสุขในชีวิต
- หลักพระพุทธศาสนา
- การปฏิบัติวิสุทธิมรรค
- สัมมาสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้บริสุทธิ์ ให้ผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงธรรมกายที่บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย ตรงฐานที่ 7 ตรงนี้ที่เดียวจึงจะเห็นหนทาง แล้วก็ดำเนินใจเข้าไปตามลำดับจนกระทั่งเข้าถึง ธรรมกาย สิ่งนี้คือหลักในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักของการสร้างความสุขให้กับชีวิตในโลก ใครอยากจะ หลุดอยากจะพ้น ก็ต้องทำมรรคให้เกิดขึ้นมา แล้วก็ดำเนินใจเข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย นอกจากนี้ถ้ากล่าวถึงวิธีการในการปฏิบัติสมาธิโดยละเอียดขึ้น จะพบวิธีที่ปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ เช่น วิสุทธิมรรค ถึง 40 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีนั้น ต่างก็มีเป้าหมายอันเดียวกัน คือ การทำใจให้ถูกส่วนและเข้า ถึงพระธรรมกายภายใน ถ้าหากว่าเรานำใจของเรามาตั้งไว้ตรงที่ฐานที่ 7 แล้วเริ่มต้นอย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการ ดังกล่าว จะเริ่มต้นจากกสิณ 10 อสุภะ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 อนุสติ 10 หรืออะไรก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าใจหยุดถูกส่วนตรงฐานที่ 7 นี้แล้ว ดำเนินใจให้เข้าสู่ภายใน และเข้าไปตามลำดับ ไม่ช้าก็จะพบธรรมกาย ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของพวกเราทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนที่ ปฏิบัติตามได้อย่างถูกวิธี 2.1.2 สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิจำแนกตามฐานที่ตั้งของใจ การฝึกสมาธิที่มีการฝึกหรือสอนกันโดยทั่วไปนั้นหากจะจำแนกประเภทตามหลักปฏิบัติของการวาง จุดที่ตั้งมั่นของใจหรือฐานของใจนั้น เราสามารถจัดแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การกำหนดตั้งฐานที่ตั้งของใจ ไว้ภายในกาย และภายนอกกาย ซึ่งการกำหนดใจไว้ภายในหรือมีฐานที่ตั้งของใจภายในกายนี้ สอดคล้อง กับหลักของสัมมาสมาธิที่จะต้องกำหนดใจให้ตั้งมั่นอยู่ภายใน ไม่ฟุ้งซ่าน หรือไม่ปล่อยใจไปเกาะเกี่ยวกับ - ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัฏฐาน 1 พรหมวิหาร 4 อรูปฌาน 4 บทที่ 2 ประเภท และ ระดั บ ข อ ง สมาธิ | DOU 23
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More