สัมมาสมาธิและการเข้าถึงฌาน MD 101 สมาธิ 1  หน้า 32
หน้าที่ 32 / 117

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจลักษณะของสัมมาสมาธิว่าเป็นการที่จิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่น ซึ่งสามารถขจัดมิจฉาสมาธิและกิเลสต่างๆ ได้ การปฏิบัติสัมมาสมาธิทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีทั้งสุขและทุกข์ และนำไปสู่นิพพานได้ พระไตรปิฎกกล่าวถึงคุณประโยชน์ของสัมมาสมาธิในการเป็นเครื่องมือในการบรรลุธรรมได้ชัดเจน.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสัมมาสมาธิ
-ลักษณะของสัมมาสมาธิ
-ความชัดเจนในพระไตรปิฎก
-วิธีการปฏิบัติสัมมาสมาธิ
-ผลของการเข้าถึงฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ จากความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้ 1. ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน 2. สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น จากลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการ แก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติโดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความใน พราหมณสูตร กล่าวถึงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า “สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด” จากความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและ ความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความใน ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้ สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลส ที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรม ทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ สติปัฏฐานสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 ข้อ 149 หน้า 628-629. มูลปริยายสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 112. ธรรมทายาทสูตร,อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 250. *ธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์ กามาวจรกุศล, มก. เล่ม 75 ข้อ 39 หน้า 360-361. พราหมณสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 22 หน้า 13. ธรรมทายาทสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 252 บทที่ 2 ประเภท และ ระดั บ ข อ ง สมาธิ DOU 19
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More