ประเภทและระดับของสมาธิ MD 101 สมาธิ 1  หน้า 31
หน้าที่ 31 / 117

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงประเภทและระดับของสมาธิ โดยแบ่งออกเป็นสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิหมายถึงการตั้งใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วนมิจฉาสมาธิเป็นการฝึกที่ไม่ก่อให้เกิดผลดี การเข้าใจความทุกข์และการค้นหาความสุขที่แท้จริงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้คนในสังคมได้รับรู้ถึงความสำคัญของการฝึกสมาธิเพื่อการพัฒนาจิตใจและการพ้นจากทุกข์ ซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้องในแนวทางพระพุทธศาสนาช่วยชี้แนะให้เราบรรลุความสงบในจิตใจและความสุขที่ยั่งยืนได้.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสมาธิ
-สัมมาสมาธิ
-มิจฉาสมาธิ
-การฝึกสมาธิ
-ความสุขและความทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 ประเภทและระดับของสมาธิ 2.1 ประเภทของสมาธิ : สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ โดยปกติแล้ว มนุษย์ย่อมจะเกลียดความทุกข์และมุ่งแสวงหาความสุขให้กับตนเอง แต่ความสุขที่ ต่างคนต่างแสวงหานั้น ส่วนใหญ่เป็นเพียงความสุขที่ให้ผลชั่วครั้งชั่วคราวหรือเป็นความสุขภายนอกที่ยัง ไม่สามารถทำให้จิตใจคลายจากรากเหง้าของความทุกข์และนำไปสู่ความสุขที่ถาวรได้ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ ส่วนใหญ่นั้น ยังไม่เข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้น จะต้องแก้ที่จิตใจ หาใช่แก้ที่ร่างกายหรือสิ่งที่ เป็นปัจจัยภายนอก เช่น มีการเสพยาเสพติด การเที่ยวเตร่เฮฮา ซึ่งเป็นการทำให้จิตใจเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ แต่ในที่สุดก็หาได้พ้นจากความทุกข์ดังกล่าวไม่ ดังนั้น การทำสมาธิ จึงเป็นวิธีการ สำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง ดังจะพบว่าปัจจุบัน ผู้คนใน สังคม โดยเฉพาะในสังคมของประเทศตะวันตกเริ่มให้ความสนใจกับการฝึกสมาธิกันแพร่หลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกสมาธิที่มีการสอนกันโดยทั่วไปนั้น มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น เพื่อ การแสดงฤทธิ์ทางใจในรูปของการปลุกเสก ร่ายคาถาอาคม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้คนเกิดศรัทธา ชื่นชม ยกย่องในความเก่งกล้าสามารถ หรือการฝึกสมาธิบางประเภทก็มุ่งเพื่อการเจริญสติ ก่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่ ทางพ้นทุกข์ หากจะอธิบายโดยทั่วไป สมาธิที่มีการสอนในโลกนี้สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทตามหลัก ปฏิบัติ วิธีการ อื่นๆ อีกมากมาย ในเบื้องต้นนี้ สมาธิสามารถจัดแบ่งเป็นประเภทได้ ดังต่อไปนี้ คือ 1. สัมมาสมาธิ 2. มิจฉาสมาธิ 1. สัมมาสมาธิ การฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกต้อง นอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึก หรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง สัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ ดังนี้ สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก 18 DOU บ ท ที่ 2 ประเภท และ ระดั บ ข อ ง สมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More