การทำสมาธิและผลของกรรมในพระพุทธศาสนา MD 101 สมาธิ 1  หน้า 92
หน้าที่ 92 / 117

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา และการเป็นผลจากกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดและการตายของสัตว์ โดยแบ่งบุคคลออกเป็นผู้มีความดีและความชั่วซึ่งจะส่งผลต่อภพภูมิที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใส และทำให้สามารถเข้าถึงสุคติและภพภูมิที่ดีได้. การตัดสินใจในการทำสมาธิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ชีวิตเข้าถึงความสมบูรณ์แบบ เชื่อมโยงระหว่างกรรมและจิตใจในการกำหนดโชคชะตาของเรา.

หัวข้อประเด็น

- การทำสมาธิ
- ผลของกรรม
- สุคติและทุคติ
- สภาพจิตใจและภพภูมิ
- ประเภทของภพภูมิในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายๆ กับบ้าง ในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีอายุเพียงเท่านั้น ตายจากชาตินั้นแล้ว ได้ไปเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร(ตระกูล)อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้รับสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ประการที่ 5 จะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังตาย กำลังเกิด อยู่ในสภาพที่เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์ที่บริสุทธิ์ ล่วงดวงตาของมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า สัตว์เหล่านี้ ประพฤติชั่วทั้งทางกาย วาจาและใจ ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประพฤติดีทั้งทางกาย วาจาและใจ ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตาย เขา เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ประการที่ 6 จะหมดกิเลสด้วยปัญญาของตนเอง ดังนั้นเราจะเห็นถึงอานุภาพของใจที่มีพลัง ย่อมกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มาก ซึ่งการที่เราแค่เพียงเริ่มทำสมาธิ เราก็สามารถสัมผัสได้ถึงการเริ่ม ต้นไปสู่ความรุ่งเรืองของชีวิต เราจึงไม่ควรละเลยที่จะทำสมาธิทุกๆ วัน เพื่อให้ชีวิตของเราเข้าถึงความสมบูรณ์ เหมือนดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ท่านได้เข้าถึงกันมาแล้ว ประการที่ 3 มีภพอันวิเศษเป็นที่อยู่ ถ้าเราได้มีโอกาสศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา เราจะพบว่า ในภพภูมิที่เราอยู่นี้มี ถึง 31 ภพ ภูมิ ซึ่งถ้าจะแบ่งง่ายๆ ก็สามารถที่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสุคติภูมิ ภพภูมิที่ดี และส่วนที่เป็น ทุคติภูมิ ภพภูมิที่ไม่ดี โลกมนุษย์ที่เราอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของสุคติภพ ในทางพระพุทธศาสนา การที่บุคคลละจากโลกนี้ไป จะไปสุคติหรือทุคติ สามารถวัดได้จากความ ใสหรือความหมองของใจ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา” เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นที่ไป แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อ “จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา” คือเมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นที่ไป ดังนั้น เมื่อใดใจของใครเศร้าหมอง เขาย่อมไปในที่ไม่ดี แต่เมื่อใดใจของเขาผ่องใส เขาย่อมได้ไป ในภพภูมิที่ดี เพราะฉะนั้นคนที่ทำสมาธิได้ดี ย่อมมีใจที่ผ่องใส เมื่อใจเขาผ่องใส จึงมักได้ไปในภพภูมิที่ดี คือภูมิ ที่เป็นสุคติ เรียกกันอีกอย่างว่าไปสวรรค์ ไปเป็นเทวดา ไปเป็นพรหม ซึ่งจะตรงข้ามกับคนที่มีใจฟุ้งซ่าน เศร้าหมอง มักจะได้ไปอบาย ในอีกด้านหนึ่ง ภพหรือโลกที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ ทางศาสนาเรียกว่า กามภพ คือโลกที่อาศัยของ ผู้ยังบริโภคกามที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะสัตว์ทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในโลก ส่วนมากยังหลงยินดีอยู่แต่ในเรื่องผัวๆ เมียๆ ห่วงเรื่องการเสพกาม เป็นกำลังทำให้ได้รับความทุกข์มากโดยใช่เหตุ แต่สัตวโลกก็ยังหลงยินดีในสุขเล็กๆ น้อยๆ เพราะหลงเข้าใจว่าเป็นสุขที่เขาควรจะได้รับ บ ท ที่ 6 ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง สมาธิ ใน พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More