ประโยชน์ของสมาธิในพระพุทธศาสนา MD 101 สมาธิ 1  หน้า 93
หน้าที่ 93 / 117

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอถึงความสำคัญของการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายว่าสมาธิช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ในชีวิตประจำวัน แม้จะมีภาระในโลก แต่การทำสมาธิจะทำให้รู้สึกสบายใจและสามารถเลือกภพที่ต้องการเพื่อพักผ่อนได้อย่างมีความสุข ทั้งยังกล่าวถึงนิพพานเป็นภพที่สูงสุด ซึ่งไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด โดยผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติอย่างจริงจังสามารถเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้แม้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยผ่านการฝึกใจให้หยุดนิ่งและเป็นเหตุให้หลุดพ้น กิเลสและอาสวะ สามารถทำให้เข้าใจถึงความสุขที่แท้จริงมากขึ้น โดยมีการยกตัวอย่างถึงพระอรหันต์ที่ได้เข้าถึงนิโรธสมาบัติอย่างบริสุทธิ์และแจ่มกระจ่าง.

หัวข้อประเด็น

-ประโยชน์ของสมาธิ
-การเข้าถึงนิโรธสมาบัติ
-นิพพานและความหลุดพ้น
-การฝึกใจให้หยุดนิ่ง
-ความสุขที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผู้ที่ฝึกสมาธิถึงแม้ยังต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพยังมีครอบครัวแต่ก็ยังมีเวลาปลดโลกออกจากบ่า ได้ชั่วคราวขณะทำสมาธิ ดังนั้นถึงแม้จะอยู่ในโลกแต่ก็เหมือนกับอยู่กันคนละโลกเพราะเป็นโลกที่ได้รับ การพักผ่อนบ้างแล้ว เมื่อละโลกไปก็ไปอย่างสบายไม่อาลัยยินดีในโลกมนุษย์อันเต็มไปด้วยภาระนี้ สามารถ เลือกภพที่ตนเองต้องการเพื่อพักผ่อนได้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านได้ให้ทัศนะในเรื่องภพเอาไว้ว่า “ภพอันวิเศษนี้คือพระนิพพาน” เป็น ภพที่วิเศษกว่าภพใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ในอายตนนิพพาน มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ผู้หลุดพ้นจากกิเลสจากอาสวะ” 1 ประการที่ 4 สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ การเข้าถึงนิโรธสมาบัติก็คือการเข้านิพพาน ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ นิพพานชนิดนี้เรียกว่า นิพพานเป็น หรือที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งอยู่ในกายมนุษย์นี้ ผู้ที่ทำสมาธิได้ระดับนี้ จะสามารถนั่งสมาธิได้ตลอด 7 วัน 7 คืน โดยไม่รับประทานอาหารแต่อย่างใด แต่อยู่ได้ ด้วยปีติ คือ สุขจากการทำสมาธิ เราสามารถเข้าหา ความสุข ในนิพพานนี้ได้ โดยต้องฝึกใจ ให้ใจหยุด ใจนิ่งให้ได้เสียก่อน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ให้ทัศนะไว้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ “เป็นเรื่องของพระอริยเจ้า คือการได้ เป็นพระโสดาบัน ได้เป็นพระสกิทาคามี ได้เป็นพระอนาคามี จนกระทั่งได้เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์จะ เข้านิโรธสมาบัติได้เพราะใจท่านไม่มีเครื่องเหนี่ยวรั้ง กิเลสไม่หุ้มห่อ ไม่มีอะไรผูกพัน ความโลภ ความโกรธ ความหลงอะไรต่าง ๆ ละลายหาย สูญสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษไปหมดแล้วใสบริสุทธิ์แจ่มกระจ่างตลอดวันตลอดคืน ตลอดเวลา ใจไปเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงเข้านิโรธสมาบัติได้ นิโรธแปลว่าดับก็ได้ แปลว่าหยุดก็ได้ นิโรธะ หยุด คือใจหยุดนิ่งอย่างดีแล้ว หยุดจากความอยากทั้งมวล เมื่อหยุดก็สว่าง เมื่อสว่างก็เห็น เมื่อเห็นก็รู้ พอรู้ก็หลุดเป็นไปตามลำดับ จนกระทั่งใจหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ บริสุทธิ์สว่าง เข้าถึงความสุข ที่แท้จริงภายใน” 3 หน้า 42-47. 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน, 6 พฤศจิกายน 2537, (เทปตลับ) พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : อักษรสมัย, 2537), 3 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน, 6 พฤศจิกายน 2537, (เทปตลับ) 80 DOU บ ท ที่ 6 ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง ส ม า ธิ ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More