ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.4 ลักษณะของใจที่เป็นสมาธิ
1.4.1 ลักษณะของใจที่เป็นสมาธิเบื้องต้น
ลักษณะของสมาธิที่เกิดขึ้นต่อใจที่ทำให้ใจมีความตั้งมั่น และแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว จะมี
ลักษณะที่ปรากฏขึ้นให้สังเกตอีกหลายประการ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อทำสมาธิได้ประสบผลสำเร็จจนใจเป็น
สมาธิ ใจจะต้องมีลักษณะ หรือคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
1. ลักษณะบริสุทธิ์
2. ลักษณะตั้งมั่น
3. ลักษณะควรแก่การงาน
ใจที่ได้รับการอบรมฝึกฝนดีแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการเจริญสมาธิ จะมีความสงบ เยือกเย็น
มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่มากระทบ ยิ่งเป็นสมาธิในระดับสูง จะมีความเยือกเย็น ประณีตสูงขึ้นไป
ตามลำาดับ
1.4.2 ลักษณะของใจที่เป็นสมาธิระดับอัปปนา
ในพระไตรปิฎก กล่าวถึงลักษณะใจที่มีสมาธิ โดยเฉพาะสมาธิในระดับอัปปนาว่า
1. ตั้งมั่น คือ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่กำหนด
2. บริสุทธิ์ คือ หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
3. ผ่องใส คือ ไม่มีกิเลสเครื่องทำใจให้ขุ่นมัว
4. เรียบเสมอ คือ ไม่ฟูแฟบหรือขึ้นๆ ลงๆ เหมือนใจที่ไม่มีสมาธิ
5. ปราศจากสิ่งที่จะทำให้มัวหมอง คือ ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองมารบกวน
6. นุ่มนวล คือ มีความอ่อนโยนไม่หยาบกระด้าง
7. ควรแก่การงาน คือ เหมาะที่จะใช้งาน โดยเฉพาะงานด้านพัฒนาปัญญา
8. มั่นคง คือ ดำรงมั่นเหมือนเสาเขื่อนไม่โยกคลอนหรือหวั่นไหว
วริยา ชินวรรโณ และคณะ, สมาธิในพระไตรปิฎก, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543), หน้า 55.
ฉวิโสธนสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ176-177 หน้า 222.
10 DOU บ ท ที่ 1 ส ม า ธิ คือ อะไร