ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติมั่นคง จึงไม่เผลอไป
เกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์
4 กำจัดอาสวกิเลสได้
อาสวกิเลสภายใน เป็นภัยอย่างใหญ่หลวงที่หาบหามเอาความทุกข์เข้ามาสู่ตัวเรา การกระทำของ
เราหลายประการที่ต้องเดือดร้อนเพราะการตามใจกิเลสนั้นมีมากมายสุดพรรณนา แต่สิ่งเหล่านี้สามารถ
แก้ไขให้หมดไปได้ด้วยการทำสมาธิ เราจะพบว่า คนที่ทำสมาธิ หลายคนจากที่เป็นคนใจร้อน เจ้าโทสะ
จะกลายเป็นคนใจเย็น มีเมตตา หรือบางคนสามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของตนให้ดีขึ้นได้ด้วยสมาธิ
อันเป็นเครื่องชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่า สมาธินั้นทำให้คนมีโมหะน้อยลง นี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิในการ
กำจัดกิเลสในเบื้องต้น ในระดับที่ลึกกว่านั้น สมาธิจะเป็นสิ่งที่กำจัดกิเลสได้จริงและอย่างเด็ดขาด
เมื่อเราได้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสอาสวะเลิกเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
6.2 ประโยชน์ของสมาธิตามทัศนะของพระมหาเถระ
จากข้างต้นเราจะเห็นว่า ประโยชน์ของสมาธินั้นมีมากมายหลายอย่าง ต่อไปจะได้แสดงถึง
อานิสงส์ของสมาธิในบางส่วนบางข้อที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิในทางพระพุทธศาสนา
ประการที่ 1 ทำให้มีความสามารถในการทำงานเหนือผู้อื่น
สิ่งที่นักทำงานปรารถนาอย่างยิ่งก็คือ
1. ทำงานได้โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย การทำสมาธิที่ถูกต้องทำให้เรารู้สึกสดชื่น
กระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ คนที่ทำสมาธิอยู่เสมอจะมีความรู้สึกตัวเบาใจเบา และมีความสุขกับการทำงาน
ทุกอย่าง เหมือนกับการที่เราได้ทำในสิ่งที่ชอบใจ เราย่อมจะมีความรู้สึกสนุกและเบิกบาน ใจของคนที่มี
ความสุขก็เช่นกันไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ดูจะมีความสุขไปหมด จึงไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งตรงข้ามกับคนไม่มีสมาธิ
เมื่อจะทำอะไรดูทุกสิ่งจะแย่ไปหมด
2. ทำงานได้รอบคอบเกิดประโยชน์และมีผลเสียหายน้อย เราจะสังเกตเห็นว่าผู้ที่มีสมาธิดีจะ
เป็นผู้ที่ใจเย็น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเขาจะทำใจให้สงบ เหมือนที่ผู้รู้ได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อใจสงบจะพบทางออกและ
ในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเขาจะเป็นคนแก้ไขปัญหาด้วยสติ ไม่ร้อนรน เพราะผู้ที่มีสมาธิดีจะมีสติดี สติเป็น
ตัวทำให้เกิดความรอบคอบ เมื่อคนได้ทำสมาธิเขาจะมีสติอยู่กับตัว ใจไม่ซัดส่าย วอกแวก เมื่อจะทำอะไร
ใจก็จะมุ่งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผลงานจึงออกมาประณีต และการที่ทำสมาธิบ่อยใจก็จะเป็นระบบการจัดสรรงาน
ก็จะออกมาเป็นระเบียบ ทำงานน้อยลง แต่ได้ผลงานมากขึ้น ดีกว่าคนที่ทำอะไรแบบหลงๆ ลืมๆ งานก็ตกๆ
หล่นๆ ต้องตามเก็บงาน หรือต้องทำซ้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้งานเสียหายได้ง่าย
1 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : อักษรสมัย, 2537), หน้า 42-47
76 DOU บ ท ที่ 6 ป ร ะ โ ย ช น ข อ ง สมาธิ ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า