การฝึกสมาธิแบบเถรวาทในพระพุทธศาสนา MD 101 สมาธิ 1  หน้า 46
หน้าที่ 46 / 117

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะการนั่งสมาธิแบบชิคานทาซา ที่มุ่งเน้นการมีสติและรับรู้สิ่งรอบตัวเท่านั้น รวมถึงวิธีการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ โดยการภาวนาคำว่า 'พุท-โธ' ตามจังหวะหายใจเข้าสู่และออกไป โดยมีการเดินจงกรมเป็นส่วนหนึ่งของการฝึก ซึ่งช่วยให้จิตใจมีสมาธิและสงบ ในประเทศไทยมีการสอนหลายวิธีการและสถานที่ในการฝึกสมาธิเหล่านี้ ซึ่งสอนโดยพระอาจารย์ผู้ชำนาญในพระพุทธศาสนา หากผู้สนใจได้ศึกษาและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ย่อมส่งผลดีต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-ชิคานทาซา
-อานาปานสติ
-พระพุทธศาสนาเถรวาท
-การเข้าถึงธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่นั่งนั้นมีเสียงรถผ่านไปก็ให้รู้ ลมพัดมาต้องกายก็ให้รู้ มีอะไรเกิดขึ้นรอบกายก็ให้รู้ ให้นั่งอยู่ในความ รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มีสติ รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง วิธีการนี้เรียกว่า “ชิคานทาซา” สรุป สมาธิแบบเซนจะมุ่งเน้นความสงบทางใจโดยการนั่งนิ่ง ๆ แล้วนำคำภาวนามาขบคิดจนเกิด ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความสว่าง สงบ และความยินดี การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนี้ มีหลายวิธีการปฏิบัติ และแหล่งที่มีการสอนมักจะ เป็นในประเทศศรีลังกา พม่า และไทย เป็นต้น สำหรับในที่นี้ จะมุ่งกล่าวถึงการฝึกสมาธิแบบเถรวาทที่มี การสอนในประเทศไทยเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศไทยเอง ก็มีหลากหลายรูปแบบ และมี หลายสำนักปฏิบัติธรรมที่เผยแพร่วิธีการปฏิบัติในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงความหลากหลายวิธีการ และหลากหลายสำนักปฏิบัติธรรมนี้ แสดงให้เห็นว่ามีผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมกันมาก หากแต่ละ สำนัก รวมทั้งผู้มุ่งที่จะศึกษาและฝึกสมาธิ ได้ลงมือศึกษาและฝึกฝนอย่างจริงจังแล้ว ย่อมจะเกิดผลดีทั้ง แก่ผู้ปฏิบัติและการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย ในที่นี้จะยกตัวอย่างวิธีการฝึกสมาธิแบบเถรวาทใน ประเทศไทยมาพอสังเขป แต่จะกล่าวถึงการฝึกสมาธิเพื่อการเข้าถึงธรรมกายในรายละเอียด ทั้งนี้เพราะ ผู้จัดทำตำราเรียนได้ศึกษามาโดยตรง ส่วนวิธีการอื่นนั้น หากสนใจในรายละเอียดนักศึกษาสามารถ หาโอกาสศึกษาได้ด้วยตนเอง การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเป็นรูปแบบการฝึกสมาธิที่นิยมฝึกกันมากในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในที่นี้จักขอยกเอาการฝึกสมาธิตามแบบสายพระธุดงค์อีสาน โดยมีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นครู ผู้สอน ซึ่งท่านใช้คำว่า พุท-โธ เป็นหลักในการภาวนาตามจังหวะลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ท่านยังเน้น การเดินจงกรม โดยระยะที่จะเดินประมาณ 5 เมตร ถึง 10 เมตร มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้า ประมาณ 4 ก้าว เพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก การทำสมาธิแบบอานาปานสติ จะใช้วิธีเอาสติไปอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก โดยภาวนาพุท-โธ กำกับด้วย 1 พระธุดงค์อีสาน คือ พระภิกษุผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งท่านมักจะเดินทาง ปฏิบัติธรรม ตามป่าเขา ต่อมาส่วนใหญ่ท่านมักจะตั้งสำนักหรือพำนักอยู่วัดในภาคอีสาน บ ท ที่ 3 รู ป แ บ บ ข อ ง ก า ร ฝึกสมาธิ DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More