ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมาธิแบบ TM
TM ย่อจาก Transcendental Meditation ที่ถูกนำไปเผยแผ่โดยมหาฤาษี วิธีการของ TM คือ
การท่อง “มนตรา” (Muntra) ซึ่งจะท่องซ้ำ ๆ ในใจ ให้เกิดความผ่อนคลาย และถือเป็นอุบายในการทำให้
จิตนิ่ง ซึ่งการท่องมนตรานี้จะไม่มีการเปิดเผยให้ทราบ ขึ้นอยู่กับครูผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้กำหนดให้
(2) การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิในพระพุทธศาสนา
แบบวัชรยาน เช่น สมาธิแบบทิเบต สมาธิในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน เช่น สมาธิแบบเซน และ
สมาธิในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท เช่น อานาปานสติ พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น
การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแบบวัชรยาน
สมาธิแบบทิเบต
การฝึกสมาธิตามแบบทิเบต เป็นวิธีการปฏิบัติแนวหนึ่งที่นอกจาก
ต้องการจิตใจที่บริสุทธิ์แล้วยังต้องการอำนาจจิตด้วย รูปแบบการฝึกจึง
มุ่งเพ่งความคิดให้แน่วแน่ลงไปในสิ่งเดียว หากสามารถรวมพลังจิต
ทำนองเดียวกับการรวมแสงอาทิตย์ จะทำให้ได้พลังจิตอย่างมหาศาล
การปฏิบัติสมาธิแบบนี้จะต้องหลอมรวมร่างกาย ความคิด และ
ประสาทสัมผัสเข้าด้วยกันด้วยดวงจิตที่มีสติควบคุมจดจ่อเป็นอารมณ์เดียว
และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน จึงจะบังเกิดผลขึ้นมาได้
ในเวลาอันควร การปฏิบัติทุกขั้นตอนจะต้องไม่รีบร้อน ให้ทำแบบช้าๆ เพื่อให้ทั้งร่างกาย ความคิด และ
ประสาทสัมผัส สามารถผสมผสานเข้าสู่กระบวนการได้อย่างถูกต้อง ผลที่เกิดขึ้นจะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง
ซึ่งขั้นตอนการฝึกสมาธิแบบนี้ จะมีลำดับในการปฏิบัติคือ
1 เดนนิส เดนนิสตัน (ผู้แต่ง), สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์ (ผู้แปล), ทีเอ็ม บุ๊ค (TM BOOK),
(กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท., 2543), หน้า 156.
2 ทีลอบฟัง รัมปา (ผู้แต่ง), เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ (ผู้แปลและเรียบเรียง), สมาธิแบบทิเบต, พิมพ์ครั้งที่ 3,
(กรุงเทพมหานคร : ปัญญา, 2534), หน้า 9.
3 ที ลอบชัง รัมปา (ผู้แต่ง), เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ (ผู้แปลและเรียบเรียง), สมาธิแบบทิเบต, พิมพ์ครั้งที่ 3,
(กรุงเทพมหานคร : ปัญญา, 2534), หน้า 10.
4 ที่ลอบซัง รัมปา (ผู้แต่ง), เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ (ผู้แปลและเรียบเรียง), สมาธิแบบทิเบต, พิมพ์ครั้งที่ 3,
(กรุงเทพมหานคร : ปัญญา, 2534), หน้า 9.
บ ท ที่ 3 รู ป แ บ บ ข อ ง ก า ร ฝึกสมาธิ DOU 31