การเทศน์มหาสติปัฏฐานสูตรโดยหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 1
หน้าที่ 1 / 43

สรุปเนื้อหา

การเทศน์นี้โดยหลวงพ่อวัดปากน้ำเสนอเรื่องราวในมหาสติปัฏฐานสูตรที่กล่าวถึงการจดจ่ออยู่กับสติปัฏฐานสี่ ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาจิตใจและการทำสมาธิ โดยเฉพาะในการเห็นกายละเอียดและการเข้าใจธรรมชาติของจิตและความรู้สึก วิเคราะห์ว่าการเห็นนี้ต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักการรู้ตัวอยู่เสมอ การเข้าใจการกำหนดด้วยลมหายใจและอิริยาบถ เพื่อให้เกิดสติและความตระหนักในทุกขณะ.

หัวข้อประเด็น

-มหาสติปัฏฐานสูตร
-การเห็นกายในกาย
-กาย เวทนา จิต ธรรม
-การพัฒนาอิริยาบถ
-ความสำคัญของสติปัฏฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 153 ๔๖ มหาสติปัฏฐานสูตร ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๗ นโม..... กกญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตเต..... หลวงพ่อวัดปากน้ำ เทศน์เรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร ในหมวดปฏินิเทศทวาร ได้แก่ สติปัฏ ฐานสี่ ประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม กาเย กายานุปสฺสี ฯ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ฯ จิตฺเต จิตตานุปสฺสี ฯ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ฯ เห็นกายในกายเนืองๆ เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ เห็นจิตในจิตเนืองๆ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ - เห็นกายมนุษย์ละเอียด อยู่ในกลางกายมนุษย์ เรียก เห็นกายในกาย เห็นดวงกลมใสกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เวทนาของ กายมนุษย์ละเอียดข้างใน กายละเอียดเป็นผู้เห็นกายนั้นว่าสุขหรือไม่ เรียก เห็นเวทนาในเวทนา มั่นอยู่กลางดวงจิตมนุษย์หยาบ จึงเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของกายมนุษย์ ละเอียด จิตเป็นดวงเท่าตาดำข้างนอก เรียก เห็นจิตในจิต - จากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ ซึ่งเป็นดวงธรรมข้างนอก เข้าถึงกายละเอียด ก็ เห็นดวงธรรมกายมนุษย์ละเอียด เป็นดวงธรรมข้างใน เรียก เห็นธรรมในธรรม “นี่เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆ อย่างนี้ อุเทศทวารก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป เห็นเข้าไปตั้ง ๑๘ กาย นั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ ๑๘ กาย ชัดๆ ใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายล่ะ ถ้าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆ อย่างนี้” เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่นั่นเป็นอย่างไร ? คัมภีร์ปฏินิเทศทวาร แสดงการเห็นกาย เป็นข้อกำหนด ที่เรียก “ปัพพะ” - อานาปานปัพพะ อิริยาบถปัพพะ - สัมปชัญญปัพพะ - ปฏิกูลมนสิการปัพพะ - ธาตุปัพพะ - นวสีวถิกปัพพะ ข้อกําหนดด้วยลมหายใจเข้าออก ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถ แห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายคนเรา ข้อกำหนดเรื่องธาตุในร่างกาย เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ข้อกำหนดด้วยศพ ๙ รูป ตายวันหนึ่ง สองวัน เป็นลำดับไปจน กระทั่งเหลือแต่กระดูก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More