พระมงคลเทพมุนี: การแสดงธรรมเพื่อการบรรลุธรรม ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 39
หน้าที่ 39 / 43

สรุปเนื้อหา

พระมงคลเทพมุนีสอนให้ไม่เสพกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แต่ควรปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา คือการมีศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้รับธรรมจบและบรรลุธรรม พระองค์จึงแสดงอริยสัจ ๔ ทำให้เกิดความสุขจากการบรรลุธรรม ร่วมถึงความสามัคคีในหมู่คณะที่จะนำไปสู่ความแข็งแกร่งและลดภัยจากศัตรู

หัวข้อประเด็น

-การแสดงธรรม
-มัชฌิมาปฏิปทา
-พระอรหัต
-ความสามัคคีในหมู่
-อริยสัจ ๔

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 191 ต้อนรับพระองค์ หันมาดูแล หาที่ประทับให้ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมว่า “ที่สุดทั้งสองที่บรรพชิต ไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แต่ให้ดำเนินด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติ เป็นกลาง” กามสุขัลลิกานุโยค คือ การประกอบตนให้เนื่องด้วยกาม ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็น เหตุให้เป็นคนที่มีกิเลสหนา ออกจากข้าศึก คือกิเลสไม่ได้ ไม่มีสุข อัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนด้วยการให้ความลำบากแก่ตน เช่น ตากแดด ย่างไฟ เพื่อ ดับความกำหนัดยินดี เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไม่พ้น เป็นทุกข์ ข้อปฏิบัติเป็นกลางเป็นอย่างไร ? คือ เห็นชอบ ดำริชอบ กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ เป็นต้น จัดลงในศีล สมาธิ ปัญญา พระปัญจวัคคีย์ รู้จักศีล สมาธิแล้ว แต่ยังไม่รู้จักปัญญา พระองค์จึงให้รู้จักด้วยการแสดงอริย สัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทรงแสดงให้เห็นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ขึ้นชื่อว่าสังขารย่อมมีเกิดดับ ทั้งสิ้น เมื่อฟังธรรมจบ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมกายก่อน บรรลุมรรคผล ปราศจากมลทิน พระปัญจวัคคีย์ต่างบรรลุธรรมตามกันเช่นเดียวกับพระศาสดา ๒. การแสดงพระสัทธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข พระปัญจวัคคีย์ได้รับความสุขเหมือนกันหมด เพราะบรรลุธรรมเป็นพระอรหัต ตัดกิเลส ด้วย พระธรรมเทศนาของพระศาสดา ๓. ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข ประเทศหรือหมู่คณะไหน สามัคคีพร้อมเพรียง ใครทำอะไรก็ไม่แตกกัน ข่มเหงก็ไม่ได้ “หมดทั้งประเทศชาติ หมดทั้งศาสนา สุขที่ความพร้อมเพรียงกัน เหมือน มนุษย์ หญิงชายหมดทั้งประเทศไทยพร้อมเพรียงกัน เชื่อฟังตามผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านได้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ไป ตามหัวหน้าไป...จะไปทางไหน ก็เหมือน ฝูงนก หัวหน้าฝูงนำหน้าไปอย่างไร ลูกน้องก็ตามแถวเป็นฝูง ฝูงใหญ่ เท่าไร ก็เป็นสุข เมื่อเป็นฝูงใหญ่เช่นนั้นปราศจากอันตรายพร้อมเพรียงอย่างนั้น ปราศจากอันตราย...เมืองไทยมันพร้อมกันอยู่แล้ว....ข้าศึกที่ไม่แตก จะไปแย่งเอา เมืองนั้นไม่ได้ เหมือนกันหมู่ภิกษุพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว....ศึกเสือเหนือใต้ทำ อะไรไม่ได้” ตัวอย่าง : พระเจ้าอชาตศัตรูพยายามไปตีเมืองเวสาลี ที่เจ้าลิจฉวีปกครองถึง ๑๑ ครั้งก็ไม่ แตก เพราะมีความพร้อมเพรียงนัก จึงทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงจำเป็นต้องตอบเป็นกลางว่า เมืองไหน หมู่ไหน เขาสามัคคีกลมเกลียวกัน เมืองนั้นหมู่นั้นเขาก็มีกำลังมาก ทำอะไรเขาไม่ได้ พระเจ้าอชาตศัตรู จึงใช้อุบายเงี่ยนวัสสการพราหมณ์ ส่งไปเมืองเวสาลี ไปเป่าหูจนแตก ความ สามัคคี พระเจ้าอชาตศัตรูก็ตีเมืองได้อย่างง่ายดาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More