สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับกฐินและสังฆทาน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 28
หน้าที่ 28 / 43

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการทอดกฐินซึ่งมีเวลาจำกัดหลังออกพรรษา โดยมีพระอนุรุทธเป็นผู้ถวายและพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตพร้อมบอกถึงอานิสงส์การถวายสังฆทานที่ยิ่งใหญ่ โดยยกตัวอย่างพระนางปชาบดีโคตมีที่ถวายผ้าและมีบุญกุศลใหญ่เกิดจากการถวายอย่างบริสุทธิ์ นำเสนอเกี่ยวกับการแบ่งปันและรักษาอาบัติภิกษุ ทั้งการทอดกฐินและผ้าป่าเป็นการทำบุญที่ล้วนมีประโยชน์และอานิสงส์

หัวข้อประเด็น

-การทอดกฐิน
-อานิสงส์ของสังฆทาน
-พระนางปชาบดีโคตมี
-การถวายผ้ากฐิน
-บุญและอาบัติภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

180 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ผ้าป่านั้นเป็นสิทธิ์ของพระอนุรุทธ เมื่อสละขาดจากใจของพระอนุรุทธ ถวายพระบรมศาสดา ก็เป็นของพระองค์ พระองค์รับสั่งให้กรานกฐินได้ ทรงเป็นผู้ทอดก่อนและวางไว้เป็นตำราเรื่องกฐิน การทอดกฐิน มีเวลาจำกัด คือ ทอดภายใน ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา ถวายกฐินแล้วคุ้มอาบัติภิกษุได้ทั้งวัด จีวรมา ภิกษุองค์ใดได้อนุโมทนากฐิน (กรานกฐิน) จะพ้นจากอาบัติ ๕ สิกขาบท ได้แก่ Q. . ภิกษุที่ได้อนุโมทนากฐินแล้ว เวลาวิกาลออกจากวัดไม่ต้องบอกลาภิกษุในวัดก่อนก็ได้ ๒. ภิกษุที่ได้อนุโมทนากฐินแล้ว ฉันคณะโภชน์ได้ ๓. ภิกษุที่ได้อนุโมทนากฐินแล้ว จากไตรจีวรได้ ๔. ภิกษุที่ ได้อนุโมทนากฐินแล้ว ไม่ต้องอาบัติพินทุอธิษฐานภายใน ๑๐ วัน เมื่อได้อดิเรก ๕. ภิกษุที่ได้อนุโมทนากฐินแล้ว ได้ส่วนแบ่งสังฆิกลาภที่เกิดขึ้นในอาวาสนั้นเต็มที่ เมื่อได้ผ้าป่าแล้ว จะเอามากรานเป็นกฐินบ้างก็ได้ หรือเอาผ้ากฐินที่ได้มาไปทอดผ้าป่าก็ได้ เพราะทอดผ้าป่าและทอดกฐินเป็นการถวายสังฆทานเหมือนกัน แต่ทอดกฐินมีอานิสงส์มากกว่าการ ทอดผ้าป่า เพราะคุ้มอาบัติภิกษุได้ ๕ ข้อ ผ้าป่าคุ้มไม่ได้ การถวายเป็นสังฆทานจึงได้บุญกุศลยิ่ง ใหญ่ ดังเรื่องของนางปชาบดี อานิสงส์การถวายสังฆทาน : พระนางปชาบดีโคตมี พระเจ้าแม่น้าปชาบดีโคตมี นำผ้าที่ปั่นทอเย็บเองอย่างประณีต ๒ ผืน มาถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงถือเป็นพระมารดาที่เลี้ยงชูมา จึงทรงรับผ้าไปเพียงผืนเดียว อีกผืนหนึ่งต้องการให้ตก เป็นสังฆทานจะได้บุญมากกว่า แม้พระนางจะอ้อนวอน ผ้าผืนนั้นได้ตกผ่านมือพระภิกษุจนถึง พระอชิตะ ผู้บวชใหม่ซึ่งนั่งองค์สุดท้าย จึงต้องรับไว้ พระนางปชาบดีทรงเสียพระทัยมาก พระพุทธเจ้าทรงทราบพระอัธยาศัย จึงเรียกพระอานนท์ ให้เอาบาตรมาเหวี่ยงขึ้นไปในอากาศ และรับสั่งภิกษุทั้งหลายให้นำบาตรกลับมา ไม่มีพระอรหันต์ องค์ใดขึ้นรับเพราะเข้าใจปัญหานี้ พระอชิตะก็อธิษฐานว่า บุญบารมีที่สั่งสมมาแต่ชาติก่อน ถ้า อนาคตจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ขอให้บาตรนั้นตกลงมาสู่หัตถ์ของข้าพเจ้า บาตรนั้นเป็นกายสิทธิ์ มีฤทธิ์ ก็ตกลงมาถึงมือพระอชิตะ พระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า อชิตะ น้องชายตถาคต ต่อไปจะเป็นศาสดาเหมือนเรา พระนาง จึงปลื้มใจที่ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้าในอนาคตอีกองค์หนึ่ง ถวายเป็นสังฆทาน บุญกุศลใหญ่เกิดเป็นดวงใสติดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นอัตโนมัติ ตรง นั้นเป็นที่ดึงดูดบุญ ได้บุญเท่าไร ดูดติดเหมือนหม้ออัตโนมัติ มีกันทุกคน บุญวันนี้ไม่เล็กนะ วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑,๐๐๐ วา กลมรอบตัวเรียบเหมือนหน้ากระจก บุญมา ติดกลางตัวทุกคน แต่ลดหย่อนกันไป ผู้มีธรรมกายเห็น เหมือนกับเราหาเงินหาทองในโลกนี้ ได้เงินมาแล้วเราก็เห็นซิ เก็บไว้ในเซฟ เราจับถูก บุญก็เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More