สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 12
หน้าที่ 12 / 43

สรุปเนื้อหา

ข้อความในพระธรรมเทศนานี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าใจธรรมะ พร้อมกับแนวทางที่พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงธรรมกายและการเป็นอริยบุคคล 4 ขั้น ซึ่งรวมถึงวิธีการปล่อยวางและดับทุกข์ โดยเน้นย้ำว่าความหยุดเป็นเส้นทางสู่ความสงบและนิพพาน ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมที่พระตถาคตสอนไว้จะสามารถถึงฝั่งของนิพพานได้ พระพุทธเจ้ายังกล่าวถึงการสร้างบารมีและการดำเนินชีวิตในทางที่มีประโยชน์

หัวข้อประเด็น

- ธรรมะและนิพพาน
- การเข้าสู่กายธรรม
- อริยบุคคล 4
- การปฏิบัติธรรม
- เส้นทางสู่ความสงบและดับทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

164 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา พรหมได้ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ด้วยรูปฌาน ๔ - อรูปพรหมได้ธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหม ด้วยอรูปฌาน ๔ เมื่อธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว แล้วตัวจริงๆ อยู่ที่ไหน ? โคตรภู จําพวก” “ตัว” คือ กายต่างๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหม เป็นตัวสมมุติ เข้าถึงกายธรรม เป็น เมื่อเข้าถึงกายธรรมโสดาถึงกายธรรมอรหัตละเอียด เป็นตัวแท้ๆ เรียกว่า “อริยบุคคล 4 พระพุทธเจ้าได้ทรงจัดสาวกของท่านลดหลั่นกัน ตั้งแต่ “ปุถุชนสาวก” คือ ผู้บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อย่างหาพิรุธไม่ได้ ถ้าเข้าถึงธรรมกาย แล้วจึง เปลี่ยนจากปุถุชน ที่จะถึงอริยะ แต่ว่ายังกลับเป็นโลกียชนได้ เรียกว่า “โคตรภู” เมื่อเห็นธรรมไม่ใช่ตัว ก็เหนื่อยหน่ายในทุกข์ ก็ปล่อยเสีย เป็นหนทางหมดจด เมื่อหมดจดจากกิเลสทั้งหลายแล้ว ย่อมดับจากทุกข์ จิตก็สงบ หลุดจากทุกข์ นักปราชญ์จึง กล่าวว่า “ความดับ” คือ นิพพาน “ความหยุด” ความสงบ เป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน จะไปได้ ด้วยทางนี้ทางเดียว ท่านจึงกล่าวว่า นตฺถิ สนฺติปร์ สุข์ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี นั้นเป็นหนทางสู่มรรคผลแท้ๆ และยืนยันว่า ก็ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรมที่พระตถาคตกล่าวแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้น จักถึงฝั่งคือนิพพาน เป็นฝั่งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะที่ข้ามได้แสนยาก พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมีต่างกันตั้งแต่ ๔ อสงไขย แสนกัลป์ ๔ อสงไขยแสนกัลป์ ๑๖ อสงไขย แสนกัลป์ ท่านจึงกล่าวว่า บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้นอย่างเด็ด ขาด “พอบวชเป็นพระเป็นเณรขาดจากใจ ความชั่วไม่ทําเลย ชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับไป ดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า - บุคคลผู้ประพฤติมั่นในพระรัตนตรัยแท้ ได้ชื่อว่ายึดแก่นสารของตนไว้ได้ - ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างของเราท่านก็ย่อมเข้าถึงความ ทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมหาเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ - เมื่อกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา ผู้มีปัญญาเห็นภัยในความตาย จึงมุ่งแต่บำเพ็ญการกุศล ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ ที่จะนำความสุขมาให้ “ถ้าปล่อยความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก็ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ “พึงปฏิบัติชีวิตของตน อโมฆ ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จาก ประโยชน์ที่เดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอในความบริสุทธิ์ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More