ข้อความต้นฉบับในหน้า
160 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เป็นที่ร่มเย็นเป็นสุข เพราะท่านรู้หนทางแห่งความเสื่อม
และความเจริญ และวางเป็นแบบแผนไว้ให้เรา
๒. ปาณภูเตสุ สญฺญโม ฯ สำรวมระวังในสัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นเหตุให้รักษา
ขยายความ
โลกเกิดขึ้นใหม่ๆ ยังมีมนุษย์น้อยอยู่ ลงมากินง้วนดิน ต่อๆ ไปก็ได้กลายมาเป็นมนุษย์อยู่
ด้วยกันจนมีมนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์ก็เริ่มต้นเบียดเบียนกันด้วยกาย วาจา ใจ ถึงประหัตประหาร
ผู้มีปัญญาก็ต้องมาแก้ไขให้เลิกเบียดเบียน เป็นคราวๆ ไป แต่ก็เกิดเบียดเบียนตัวใหม่เข้ามาเรื่อยๆ
เช่น ต่อมาก็เริ่มเบียดเบียนด้วยการแย่งชิงอาหาร ฉกชิง หลอกลวงกันแล้วมนุษย์มีความ
กำหนัดยินดี ประทุษร้ายลูกเมียคนอื่น มนุษย์ขี้ปด หลอกลวงกัน จนบริโภคสุรา
“หมดทั้งสากลโลก หมดประเทศไทย หมดประเทศอเมริกา หมดประเทศ
อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย ฯลฯ ถ้ามีศีลห้าพร้อมๆ กันเสีย โลก
ก็ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทันใดทีเดียว”
มนุษย์จึงพึงมีศีล ๕ ถ้าทุกประเทศในโลกบริสุทธิ์ด้วยศีล ๕ พร้อมกัน โลกก็จะได้รับความร่มเย็น
เป็นสุขทันที ไม่ต้องมีปลาใหญ่กินปลาเล็ก สุขทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหมด เพราะสำรวม ไม่เบียด
เบียนในสัตว์
๓. สุขา วิราคตา โลเก ความปราศจากความกำหนัดยินดีเป็นสุขในโลก
เข้าถึงธรรมกายโคตรภู ปราศจากความกำหนัดยินดีจริง แต่เมื่อออกจากธรรมกายก็กำหนัด
ยินดีอีก เข้าถึงกายพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา ก็ยังมีความกำหนัดยินดี ต่อเมื่อถึงพระอรหัต
จึงปราศจากความกำหนัด โลกธรรม ๘ และปปัญจธรรม เข้ามากระทบก็ไม่เขยื้อนจึงเป็นสุขแท้ๆ
พ้นกิเลส กามไม่หลงเหลือ
๔. กามานํ สมติกฺกโม ฯ ก้าวล่วงเสียซึ่งกาม
“ปปัญจธรรม” ธรรมที่ทำสัตว์ให้เนิ่นช้า ได้แก่ ตัวรูปที่สวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย
สัมผัสทางกายที่ถูกใจ เป็นตัวกามแท้ ๆ บางทีเรียก “พัสดุกาม” และเป็นที่ตั้งของ “กิเลสกาม” คือ
ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ปปัญจธรรม เป็นธรรมที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า ไม่มีเวลาให้ทาน ศีล ภาวนา เมื่อยินดีในปปัญจ
ธรรมจนถอนไม่ออก ละวางไม่ได้ ก็ก้าวล่วงไม่พ้น จมอยู่ในความทุกข์ความสุขนั้น ให้เดือดร้อน
เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้
ทุรนทุราย
ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ต่างยังไม่พ้นความกำหนัดยินดี
“กามภพ” ในมนุษยโลก รูป เสียง กลิ่น รส ติดอยู่กับใจ แกะไม่ออก สวรรค์ 5 ชั้น ติดหนัก
ขึ้น เพราะละเอียดมากขึ้นจนถอนไม่ออก
“รูปภพ” พรหมก็ติดกับรูปฌาน ใจไปจรดอยู่กับรูปฌาน
ตัวอย่าง กษัตริย์พระองค์หนึ่งได้ปฐมฌาน สละราชสมบัติไปเป็นฤๅษี ยกราชสมบัติให้ราชโอรส
แม้พระโอรสจะมาเชิญพระองค์กลับไปเสวยราชย์อีก ก็ไม่ยอมกลับ เพราะการเข้าฌานนี้เลิศกว่าสมบัติ
พระราชานัก