สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับการบรรลุศีลและธรรม ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 18
หน้าที่ 18 / 43

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนานี้กล่าวถึงการบรรลุศีลบริสุทธิ์ซึ่งมีความสำคัญมากในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ศีล 5 ถึง 227 ข้อ โดยการประพฤติธรรมจะนำไปสู่ความสุขและการยกย่อง ความแตกต่างระหว่างสัตบุรุษและอสัตบุรุษนั้นแสดงให้เห็นถึงผลของการกระทำในโลกนี้ การบรรลุธรรมกายและการรักษาศีลจะทำให้เข้าถึงความสุขอย่างแท้จริง และนำไปสู่การหมดทุกข์ ถือเป็นเอกันตบรมสุข ในการประพฤติธรรมนั้นสิ่งสำคัญคือการรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์เพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรมที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการมีปัญญาในการตัดสินใจหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการบรรลุขั้นสูงที่สุดในพระธรรม ได้แก่ การเข้าถึงอรูปฌานและความสุขที่ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุศีลบริสุทธิ์
-สัตบุรุษและอสัตบุรุษ
-ธรรมและอธรรม
-สุขและทุกข์
-วิธีการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

170 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา การบรรลุศีลบริสุทธิ์ ก็ทำได้ยากยิ่ง ตั้งแต่ศีล ๕ - ๒๒๗ ข้อ บรรลุปฐมมรรค มรรคจิต มรรค ปัญญา ทั้งกายวาจาใจ บริสุทธิ์อย่างเดียว ต. อสัตบุรุษทั้งหลายกระทำตามไม่ได้ การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษย่อมต่างกัน - ธรรมของสัตบุรุษ อันอสัตบุรุษทำตามไม่ได้เพราะทำตรงข้ามกัน เมื่อละจากโลกจึงไปต่างกัน - สัตบุรุษไปสวรรค์ อสัตบุรุษไปนรก - ธรรมและอธรรม มีผลไม่เสมอกัน ธรรมให้ถึงซึ่งสวรรค์ อธรรมนำไปนรก - ประสงค์กุศลกรรม เรียกฝ่ายธรรม หรือธรรมฝ่ายดี เป็นที่แอบแนบแน่นอยู่กับใจของบัณฑิต -ประสงค์อกุศลกรรม เรียกอธรรม หรือธรรมฝ่ายชั่ว เป็นที่แอบแนบแน่นอยู่กับใจของคนพาล - คนพาล เป็นเครื่องหมายของคนเลว - บัณฑิต เป็นเครื่องหมายของคนดี ต่างก็เอาอย่างกันไม่ได้ ตามกันไม่ได้ เพราะคนละสายกัน ๔. ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ : อานิสงส์ในธรรมขั้นต้น ผู้ประพฤติธรรม คือทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งใจผ่องใสเรียกว่าบริสุทธิ์ขั้นกาย มนุษย์ ย่อมได้รับอานิสงส์ในขั้นต้น คือ - มีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ทั้งนั่ง นอน - ได้รับการยกย่อง นับถือ เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่ประพฤติธรรมดี - ไม่ไปสู่ทุคติ เพราะธรรมนั้นนำสุขมาให้ - สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ บรรลุธรรมกายเป็นโคตรภูบุคคล ใจก็อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรม ธรรมก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไว้ เป็นโคตรภูจนถึงพระอรหัต หมดทุกข์เรียก “เอกันต บรมสุข” เป็นบรมสุขฝ่ายเดียว เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว “ผู้มีธรรมกายนั่นแหละ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม หรือยังไม่ถึง ธรรมกาย มีบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ จะให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ ก็ได้ชื่อว่า ผู้รักษา ธรรมเหมือนกัน” “ผู้ประพฤติธรรมนะ อุตสาหะให้ทาน รักษาศีล อุตส่าห์สดับรับฟังพระ ธรรมเทศนาอยู่เสมอ อุตส่าห์มีจาคะ สละสิ่งที่เป็นโทษ เป็นข้าศึกต่อคัมภีร์อยู่ ร่ำไป มีปัญญารอบรู้รักษาตัว นี้ได้ชื่อว่า ผู้ประพฤติธรรม” รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์จนถึงเจตนา ไม่ให้อะไรแทรกแซงเข้าไป ใจก็ใส เรียกว่า “บริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์” ละเอียดต่อไปถึงกายมนุษย์ละเอียด ละเอียดขึ้นเข้าถึงกายทิพย์ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด จนบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แจ่มใสอยู่เสมอ ลืมยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต สูงขึ้นไปเข้าอรูปฌาน ได้รับความสุข ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์ เป็นยอดสุขในภพนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More