ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 167
จะเข้าถึงความเป็น “อริยสาวก” ต้องหยุดเข้าไปในธรรมกายโคตรภูละเอียด จึงถึงพระอริย
บุคคล ๘ พระองค์ จัดเป็นปุริสบุคคล ๘ คือ ธรรมกายพระโสดาหยาบละเอียด ธรรมกาย พระสก
ทาคาหยาบละเอียด ธรรมกายพระอนาคาหยาบละเอียด ธรรมกายพระอรหัตหยาบละเอียด ท่านเหล่า
นี้มาเป็นได้เช่นนี้ เพราะหลุดจากอาสวะเป็นชั้น ๆ ไป
พระโสดา
พระสกทาคา
พระอนาคา
พระอรหัต
ยังไม่หลุดจากอาสวะ หลุดเพียงสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
หลุดจากกามราคะอย่างหยาบ
หลุดจากกามราคะอย่างละเอียด แต่ยังติดรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา อันเป็นสังโยชน์เบื้องบนอีก ๕
พ้นจากอาสวะ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ หลุดจากสราคธาตุ
สราคธรรม เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
หลวงพ่อวัดปากน้ำ แสดงเรื่อง “อาสวะ”
อาสวะ มี ๔ จำพวก คือ
๑. กามาสวะ ประกอบด้วย
กาม + อาสวะ
๒. ภวาสวะ
ประกอบด้วย
๓. อวิชชาสวะ ประกอบด้วย
ภว + อาสวะ
อวิชชา + อาสวะ
๔. ทิฏฐาสวะ ประกอบด้วย ทิฏฐิ (เห็นผิด) + อาสวะ
กาม คือ ตัวพัสดุกาม คือ ตัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
กิเลสกาม คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
กิเลสกามนี้ ทุกคนติดอยู่ แกะไม่หลุด เช่น พวกเราที่ครองเรือน หรือนักบวชที่สึกไปแต่งงาน
จนกว่าจะเข้าถึงธรรม ๕ ข้อดังกล่าว หลุดจากกายมนุษย์ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ประมาท
อาสวะของ “กาม”
คือ รสของความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่น รสของการเห็นรูป ตามไปเห็น ถูก
ส่วน เข้ากินไม่ได้ นอนไม่หลับ รสที่ดึงดูดเป็นตัวอาสวะ คอยบังคับให้ลืมไม่ลง ติดอยู่ในรูปนั้นเป็น
“กามาสวะ”
อาสวะของ “อวิชชา” คือ ความสงสัย เมื่อมีอวิชชาเข้ามาสนับสนุน เช่น รูปดีแค่นี้ก็ยังสงสัย
อยากให้ดีเกินเลยขึ้นไปอีก ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
อาสวะของ “ภพ”
สิ่งที่มีที่เป็นแก่เรา เรียกว่า “ภพ” เช่น บ้านเรือนปรากฏอยู่เป็นภพ ไร่นาเป็นภพ ที่เรา กำหนด
ว่าเป็นเรา และเป็นของเรา ล้วนเป็นภพ เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
* รูปราคะ = กำหนัดยินดีในรูปฌาน
* อรูปราคะ = กำหนัดยินดีในอรูปฌาน
* มานะ = การยกตัว
*
อุทธัจจะ = การฟุ้งซ่านรำคาญ