การเป็นมนุษย์และความสำคัญของทาน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 21
หน้าที่ 21 / 43

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เจาะลึกเกี่ยวกับการเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาจิตใจและการทำทาน เพื่อให้เกิดในสกุลสูงและพัฒนาปัญญา พระรัตนตรัยยกตัวอย่างสุเมธดาบสและพระเวสสันดร ที่มีทานอันยิ่งใหญ่ สื่อให้เห็นว่าความบังเกิดของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ยากและขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละบุคคล การทำทานเป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวิตมนุษย์เพื่อทำให้เกิดความบริสุทธิ์และเจริญก้าวหน้าในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-การเป็นมนุษย์
-ความสำคัญของมโนสุจริต
-การทำทานในพระพุทธศาสนา
-ตัวอย่างพระเวสสันดร
-บารมีของสุเมธดาบส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 173 ใน ๓ ข้อนี้ นอกจากเว้นด้วยตัวเอง ต้องไม่ชักชวน ยินดี สรรเสริญ รวมเป็น ๑๒ ข้อ คือ “มโนสุจริต” เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ๓ ประการนี้แล้ว เป็นประธานของการได้ความเป็นมนุษย์ แตกกายทำลายขันธ์ ได้กลับเป็นมนุษย์อีกทันที บริสุทธิ์สูงขึ้นก็เป็นมนุษย์สูงขึ้นไป หากเราขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ แตกกายทำลายขันธ์ ก็ต้องไปเกิดในอบายภูมิ ๔ เป็น เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน เกิดในนรก ๔๕๖ ขุม มนุษย์มีหลายชั้น แยกโดยคร่าวๆ คือ มนุษย์ชั้นสูง คือ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ เศรษฐี มนุษย์ชั้นกลาง คือ พลเมืองดี คนมั่งมี คหบดี มีทรัพย์สมบัติบริวารมาก มนุษย์ชั้นต่ำ คือ หาเช้ากินค่ำ ทำงานไม่มีวันหยุด มนุษย์ชั้นต่ำมาก เช่น ขอทาน (ชั้นต่ำมากก็ต้องจัดลงไปอีก) เราอยากเป็นมนุษย์ชั้นไหน ก็ต้องแก้ไขตัวเอง เมื่อได้เป็นมนุษย์จึงต้องเพิ่มมารยาทเรียบร้อย เช่น ให้ทานด้วยมารยาทนุ่มนวล จึงจะเป็น เหตุให้เกิดในสกุลสูง วาจาก็นุ่มนวลชวนฟัง และใจก็อ่อนโยน ใจบุญใจกุศล ใจเห็นชอบเห็นถูก ภาย หน้าจะได้เป็นมนุษย์ชั้นสูง หรืออย่างต่ำพลาดลงมา ก็เพียงชั้นกลางหรือชั้นต่ำของสูง ๒. ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นของได้ยาก ตัวอย่าง : “สุเมธดาบส” ทอดตัวลงเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าทีปังกร พร้อมพระสงฆ์แสน รูปข้ามไปได้ เพราะบารมีท่าน ด้วยการเข้าฌานสมาบัติ มิฉะนั้นร่างกายแหลกแน่ พระพุทธทีปังกร พยากรณ์ว่าสุเมธดาบสในอีก ๔ อสงไขย แสนกัปป์ จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า สุเมธดาบสดีใจราวกับเป็นวันพรุ่งนี้ และรีบเร่งให้ทานเป็นประการแรก เพราะผลทาน ส่งให้เป็นผู้สมบูรณ์บริบูรณ์ ในระหว่างที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ พระองค์ทรงสร้างทาน ๓ ประการ คือ ทานวัตถุภายนอก คือ ให้ทั้งทรัพย์และบริวารจนหมด ทานอุปบารมี คือ ให้เนื้อและเลือด ทานปรมัตถบารมี คือ ให้ชีวิตเป็นทาน เท่านี้ยังไม่พอ ยังให้ถึง “ปัญจมหาบริจาค” คือ ให้ภรรยาและลูก ตัวอย่าง : ในชาติ ที่เป็น “พระเวสสันดร” ชูชกไปขอกัณหาชาลี ก็ทรงบริจาคเป็นปุตต บริจาค ถึงขนาดพระอินทร์แปลงร่างเป็นอินทรพราหมณ์มาขอพระนางมัทรีเสียก่อนจะมีใครมาขอ ด้วยเกรงว่าจะไม่มีใครมาหาผลไม้ให้พระโพธิสัตว์ แต่ฝากพระนางมัทรีไว้กับพระเวสสันดร ผู้ใดมาขออีก ไม่ได้ ท่านจึงได้ชื่อว่าให้ภรรยาเป็นทาน “พระสีธาตุราชกุมาร” ได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็อาศัยทานเป็นเบื้องต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More