ข้อความต้นฉบับในหน้า
158 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
อดทนต่อความโกรธที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน ระวังให้อยู่ในอำนาจได้ เรียกว่า “ขันติ” โดยตรง
“ขันติ นี่แหละเป็นตัวสำคัญ จะเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่ดีได้ในธรรมวินัยของ
พระศาสดา ก็ด้วยขันติ ความอดทนนี่แหละ รักษาเข้าไว้เถิด เลิศล้นพ้นประมาณทีเดียว”
ตัวอย่าง พระเวสสันดรเห็นชูชกที่ลูกต่อหน้า ทรงขยับพระแสง แต่เมื่อพระองค์เห็นว่านี่ไม่ใช่
หน้าที่ของเรา ปุตตบริจาคของเรา คือ ให้ทาน ๒ กุมาร สำเร็จแล้ว จึงหดพระแสงลงด้วยทรงอดกลั้น
ต่อความโกรธเฉพาะหน้าที่เดียว พระองค์ทรงอดทนได้ จึงได้ไปพระนิพพาน
“ขันตินี่แหละเป็นตัวนิพพาน อดทนไม่ได้ไปนิพพานไม่ได้ อดทนได้ไปนิพพานได้”
๑.๒ นิพฺพานํ ปรม์ วทนฺติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ล้วนตรัสว่า นิพฺพานํ ปรม์ วทนติ
พุทธา ฯ “นิพพานนั่นแหละเป็นอย่างยิ่ง”
นิพพานมี ๒ ประเภท คือ
ด.
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ ระหว่างที่พระพุทธเจ้าสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่ยังมีพระชนม์
ชีพ ปรากฏสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ ปี
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เดินสมาบัติ ปฐมฌาน
“รูปฌาน” อรูปฌาน เดินถอยไปถอยมานับครั้งไม่ถ้วน เมื่อธรรมกายของท่านละเอียดพอสมควร ก็
ตกศูนย์อายตนนิพพานดึงดูดไป
“อายตนนิพพาน” คือ นิพพานที่ยังเป็นเครื่องรองรับ เมื่อธรรมกายของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้
เข้าไป ก็มีอายตนนิพพานคอยรองรับอยู่แล้ว และเป็นของละเอียด อาจเรียกว่า “นิพพาน”เฉยๆ ที่
พระพุทธเจ้าเข้าไป เรียกอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เข้าไปแล้วไม่กลับมา
“พระนิพพาน” คือ พระที่เข้านิพพาน หรือ ธรรมกายของพระพุทธเจ้าที่เข้าไปอยู่ในนิพพาน
ด้วยความอดทน ด้วยความนิ่ง ด้วยความหยุด ด้วยความอดใจ นั้นแหละจึงเข้านิพพานได้
ดังนั้นอาศัยความอดทน คือ อดใจจึงเป็นเครื่องแผดเผาอย่างยิ่ง ชั่วไม่ได้เข้าไปเจือปน
๑.๓ น ที่ ปพฺพชิโต ฯ “การเข้าไปฆ่าซึ่งสัตว์อื่น เรียกว่าเป็นบรรพชิตไม่ได้ เพราะยัง
เบียดเบียนผู้อื่นอยู่” เป็นสมณะได้เพราะไม่เบียดเบียนผู้อื่น ต้องไม่มีท่อนไม้ ศัสตราวุธในมือแล้ว
ยกตัวอย่าง : ท่านดาบสติดใจแกงเหี้ย จึงคิดจับจ้องจะตีเหี้ยที่เดิมคอยดูแลให้ตาย เหี้ยเห็น
กิริยาของดาบสวันนี้แปลกไป จึงคอยระวังตัวอยู่ ดาบสเลยตีเหี้ยพลาดไป
ได้
นักบวชที่ดีไม่ควรซ่อนอาวุธไว้ เพราะอาจจะไปฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์อื่น ไว้ใจตัวเราเองไม่
นักบวชที่ดี ทำธรรมะให้เป็นขึ้น ทำใจให้อยู่กับที่ ทำธรรมะเรื่อยๆ ไป นั้นแหละเป็นนักบวช
อุบาสก อุบาสิกาที่ดีได้ในพระพุทธศาสนา