ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 169
๕๑
ปกิณกะ ๒
( ความต่างของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ )
๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
นโม...
ทททท ททมานาน....
“ปกิณกเทศนา” เป็นธรรมเบ็ดเตล็ดเพื่อให้เราได้เข้าใจว่า บัดนี้เราเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ
โดยพิจารณาจากธรรมที่เป็นไปทั้งกาย วาจา ใจ ว่าบังเกิดขึ้นทางฝ่ายไหน เพราะธรรมและอธรรม
ย่อมหาเสมอกันไม่
Q).
ทททท์ ททมานาน ฯ เมื่อสัตบุรุษทั้งหลายให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก
ทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก
อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมทำตามไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก
“ยากที่สุดก็ให้ชีวิต ที่สองรองลงมาให้ยากที่สุดอีกก็ให้ลูก ยากที่สุดอีกก็ให้เมีย ยากที่สุดอีก ก็
ให้เลือดเนื้อ นี่ให้ยากนัก เป็นของให้ยาก เรียกว่า ปัญจมหาบริจาค”
“คนมีกิเลสหนาลามก ปัญญาหยาบ ลองหยิบขึ้นแล้วตัวสั่นเชียวหนา
ทานที่มือถือไว้นะ เหงื่อแตกเชียว มือเป็นเหงื่อเชียว ที่จะให้ได้แต่ละครั้งละคราน่ะ
ต้องหัดจนกระทั่งชำนาญทีเดียว”
บางคนให้โดยหวังตอบแทน เป็นการให้ที่แคบ เช่น รักลูกเพื่อหวังดำรงวงศ์ตระกูล ให้สามี
หรือภรรยาเพื่อไว้ใช้สอย
แต่ถ้าให้ไว้เป็นกลางๆ กับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา หมายแต่บุญกุศล สร้างบารมี
กว้างออกไป ถือเป็นคนมีปัญญาสูง เช่น ประเทศไทยมีปัญญาสูง บำรุงพระพุทธศาสนาเอาไว้ พระเจ้า
แผ่นดินก็เอาใจใส่รักษา เสียสละทรัพย์จำนวนมากเลี้ยงพระ อุบาสกอุบาสิกาทั้งประเทศ บิดา
มารดาสละลูกหญิงลูกชายให้กับพระศาสนา เป็นการให้ที่ยาก จึงมีน้อย พระภิกษุ สามเณร อุบาสก
อุบาสิกาสละตนจากครอบครัว มอบตนในพระพุทธศาสนาก็เป็นการให้ที่ยากเหมือนกัน
๒. บัณฑิตกระทำกรรม ที่บุคคลทำได้ด้วยยาก
ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตัดห่วงอาลัยในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ซึ่งทำได้ยาก
“เมื่อทำได้ยากเช่นนี้ ไม่ควรดูถูก ดูเบา อย่าประมาทเลินเล่อ อย่าเผลอตัว
ทำให้ยิ่งหนักขึ้นไป ให้บรรลุธรรมที่พระองค์ทรงประสงค์ หนทางเบื้องต้น คือ ปฐม
มรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ให้
ปรากฏขึ้นในตัวของตัว จะได้เป็นที่พึ่งของตัว”