การให้ในพระพุทธศาสนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 41
หน้าที่ 41 / 43

สรุปเนื้อหา

การให้ในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน การให้ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การให้ทาน การพูดจาไพเราะ และการประพฤติให้เป็นประโยชน์ต่อกัน โดยบัณฑิตจะเป็นผู้ที่ให้ทานอย่างไม่ลังเล เพื่อบรรลุถึงประโยชน์สูงสุด ในท่านี้ การให้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีปัญญา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า การให้ในพระพุทธศาสนาจึงไม่เพียงแต่ทำให้มีความเคารพในวงแคบ หากยังมีผลกระทบที่กว้างขวางต่อบุคคลและสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การให้ในพระพุทธศาสนา
-สังคหวัตถุ
-ประโยชน์ของการให้
-การให้และความสัมพันธ์ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 193 ทาน ៥៨ สังคหวัตถุ ๒ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๗ นโม... ทานญฺจ เปยยว ช จ... พุทธศาสนิกชนอยู่ร่วมกัน จำเป็นต้องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน สังคหวัตถุ แปลว่า วัตถุเครื่องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย :- ๑. ทาน ๒. ปิยวาจา ต. อัตถจริยา การให้ พูดวาจาไพเราะ ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่กันและกัน ๔. สมานัตตตา ประพฤติตนให้สม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ บัณฑิตทั้งหลายล้วนให้ทาน “ทาน การให้นี่ เป็นนโยบายของบัณฑิตทั้งหลายแต่ไหนแต่ไร มา คนมีปัญญาแล้วก็ต้องให้ทาน ถ้าคนโง่แล้วเห็นว่าสิ้นไปหมดไป ถ้าว่าคนมีปัญญาแล้วเห็นว่า ยิ่งให้ยิ่งมียกใหญ่” “การให้” มีทั้งให้ในวงแคบๆ หรือกว้างออกไป การให้แคบๆ เช่น ให้เฉพาะวงศาคณา ญาติ เพื่อดำรงตระกูลของตน ถ้าให้มากกว่านี้กลัวหมดเปลือง จึงทำให้ได้ความเคารพนับถือในวงแคบๆ ในทางพุทธศาสนา หมายให้กว้างออกไปไม่เจาะจงเฉพาะพระ เณรที่ชอบ ชื่อเสียงและหน้าที่ ก็กว้าง ยิ่งปกครองคนได้กว้างและเป็นคนกว้างขวาง “การให้สำเร็จที่เป็นอัตภาพที่เป็นมนุษย์นี้ เมื่อพ้นอัตภาพมนุษย์นี้เสียแล้ว ก็ไม่ได้ให้กัน ให้กันไม่ได้ ไปเป็นรูปพรหมให้กันไม่ได้ ไปเป็นอรูปพรหมให้กัน ไม่ได้ ทุกชั้นไป ของสมบัติทิพย์ก็มีด้วยกันทั้งสิ้น ไปนิพพานก็ให้กันไม่ได้ ให้ กันได้แต่เฉพาะเป็นมนุษย์นี่เท่านั้นที่ให้กันได้ เป็นสัตว์เดรัจฉานให้กันไม่ได้ เป็นเปรตอสุรกายให้กันไม่ได้ เป็นสัตว์นรกให้กันไม่ได้ ให้กันได้เฉพาะแต่ในมนุษย์ นี้เท่านั้น” การให้มีผลมากมาย มีฤทธิ์เดช ถ้าอยากมีสมบัติยิ่งใหญ่มหาศาล ก็อุตส่าห์บำเพ็ญทาน การให้สำเร็จประโยชน์ตั้งแต่ได้เกิด เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ปกครองชมพูทวีป พระยาประเทศราช ผู้ปกครองในระยะ ๔ ปี เศรษฐี คหบดี มีทรัพย์สมบัติ ข้าทาสบริวาร ลดหย่อนลงมาเป็นลำดับตามการบำเพ็ญทาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More