อริยทรัพย์และบทธรรมเกี่ยวกับความไม่จน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 32
หน้าที่ 32 / 43

สรุปเนื้อหา

ในพระธรรมเทศนานี้กล่าวถึงอริยทรัพย์ซึ่งเป็นเหตุแห่งความไม่จน โดยเน้นคุณธรรม 4 ประการที่ทำให้ผู้คนมีความมั่นคงในชีวิต และเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ตัวอย่างของสุปพุทธะที่มีความศรัทธาที่ไม่แปรเปลี่ยนแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก และการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เพื่อพัฒนาความเข้าใจในธรรมกาย จึงสามารถสร้างความมีเสถียรภาพในชีวิตได้.

หัวข้อประเด็น

-อริยทรัพย์
-ความไม่จน
-คุณธรรม 4 ประการ
-ศีลดี
-ความเชื่อในพระรัตนตรัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

184 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๕๕ อริยทรัพย์ (เหตุแห่งความไม่จน) ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ นโม... ยสฺส สทฺธา ตถาคเต.... ธรรมะว่าด้วยคุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้เป็นคนไม่จน ตามวาระพระบาลีในอริยธน คาถา ได้แก่ ยสฺส สิทธา ตถาคเต Q). ความเชื่อของบุคคลใด ไม่กลับกลอกตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้า ศีลของบุคคลใดดีงาม อันเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นของบุคคลใดเป็นธรรมชาติตรง บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่า หาใช่คนจนไม่ ความเชื่อของบุคคลไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยู่ในพระตถาคตเจ้า - คนอย่างไรได้ชื่อว่าเชื่อและตั้งมั่นในพระตถาคต ตัวอย่าง “สุปพุทธกุฏฐินะ” เป็นคนขอทาน โรคเรื้อน แต่เชื่อมั่นในรัตนตรัย พระอินทร์แปลง กายมาลองใจ โดยให้สมบัติเลี้ยงชีพตลอดชีวิต เพื่อแลกกับการที่สุปพุทธะกล่าวว่าไม่เชื่อในรัตนตรัย แม้พระอินทร์จะยอมแสดงตัวว่าแปลงมา สุปพุทธะก็ไม่ยอมคลาดเคลื่อนในความศรัทธาต่อรัตนตรัย พวกเราที่ยังรู้จักแต่เนมิตกนามว่า พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆ ยังไม่แน่นอน ถ้ายังไม่รู้จริงรู้แท้ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รูปพรรณสัณฐานอย่างไร ถึงจะกล่าวความเชื่อ แต่พอให้เงินเลี้ยงชีพ สักชาติหนึ่ง ก็จะรับเงินเท่านั้น ผู้มีธรรมกายละก็เห็นได้ มั่นคงแล้วไม่กลับกลอก ไม่เหลวไหล เหมือนสุปพุทธะทีเดียว ธมฺมกาโย อห์ อิติปิ เราตถาคต คือ ธรรมกาย ให้เชื่อมั่นลงไปดังนี้ จึงจะไม่กลับกลอก มาวัดตัวของเราว่าเชื่อในพระตถาคตเจ้าจริงไหม ๒. ศีลอันดีงามซึ่งเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า - หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ ได้ชื่อว่าเป็นศีลตามปริยัติ ด้วยเจตนา กาย วาจา ใจ หรือศีลรู้ ศีลตามหลักปฏิบัติ คือทำสมาธิให้เป็นขึ้น เข้าถึงธรรมกาย เห็นศีลตามส่วนศีลโลกีย์ ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด หากว่าถึงกายธรรมละเอียด ก็เห็นศีลโคตรภู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More