พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 183 ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๔๖-๕๘ หน้า 31
หน้าที่ 31 / 43

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจการเข้าถึงกายธรรมและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมวัฏฏและกิเลสวัฏฏในบริบทของพระพุทธศาสนา เน้นบทบาทของความไม่ประมาทในการเข้าถึงพระอรหัต รวมถึงการวิเคราะห์อาสวะและสังโยชน์ที่ต้องพ้นจาก กิจที่ทำและการเห็นชัดในธรรม ตามหลักการและแนวทางของคำสอนจากพระมงคลเทพมุนี พร้อมเตือนสติให้เข้าใจถึงความพยายามและการพัฒนาอย่างไม่ประมาท

หัวข้อประเด็น

-การเข้าถึงกายธรรม
-กรรมวัฏฏและกิเลสวัฏฏ
-พระอรหัต
-ความไม่ประมาท
-การพัฒนาในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 183 เห็นคนทำชั่วมาก ทุรนทุราย กายทิพย์หนักแน่นกว่ากายมนุษย์ละเอียด นึกถึงการขึ้นมาถึงกายทิพย์ ได้ เพราะความไม่ประมาท ใจกายทิพย์ก็หยุด ผ่าน 5 ดวง เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม เริ่มเข้าถึงภายนอกภพ ตา กายธรรมมองดู ๘ กายที่เป็นกายในภพ ซบเซาอยู่ด้วยกามบ้าง ด้วยฌานบ้าง อรูปฌานบ้าง ดึงดูดให้ติดอยู่ด้วยกรรมวัฏฏ วิปากวัฏฏ กิเลสวัฏฏ ฌาน กรรมวัฏฏ คือ การกระทำกิจการงานหน้าที่ กิเลสวัฏฏ คือ การบริโภคกิเลสกาม พัสดุกาม ไปตามหน้าที่ ยินดีอยู่ในรูปฌาน อรูป ทั้งกรรมวัฏฏและกิเลสวัฏฏ จึงรัดสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ติดข้องอยู่ พ้นไปไม่ได้ด้วยอภิชฌา พยาบาท ทิฏฐิ ราคะ โทสะ โมหะ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย เข้าถึงธรรมกายได้ ผ่านอกุศลกรรมมาได้ เพราะความไม่ประมาท ด้วยการให้ทาน ศีล ภาวนา ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เห็นชัดเช่นนี้ เรียก “ปัญญา” ส่วนกายอื่นๆ นั้นเห็นแยกละเอียดออกเป็นขันธ์ทั้ง ๕ ที่ละเอียด ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะความไม่ประมาทเป็นหลักนี้ ทำให้พยายามเข้าถึงกายธรรมอื่นๆ ได้ต่อไป คือ กายธรรม ละเอียด ยังรู้ว่ามีระคนอยู่ด้วยสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สักกายทิฏฐิ คือ ยกตัว ถือตัว วิจิกิจฉา คือ เคลือบแคลงสงสัย สีลัพพตปรามาส คือ ประพฤติศีลนอกศาสนา จึงหยุดนิ่งผ่าน 5 ดวงเข้าถึงกายธรรมพระโสดา พระโสดาละเอียด พระอนาคา เมื่อถึงพระอ นาคา หมดจากปฏิฆะ กามราคะ อย่างละเอียด แต่ยังหมักหมมอยู่ในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา จึงหยุดนิ่งต่อเข้าถึงกายอนาคาละเอียด ใจพระอนาคาละเอียดหยุดนิ่งเห็นกายพระอรหัต ก็รู้ตัวว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว ขีณาสโว กตกรณีโย กิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว นตฺถิ ปุนพุภโว ภพใหม่ของเราไม่มี รีบไปให้ถึงพระอรหัตละเอียดต่อไป ด้วยความไม่ประมาท “นี่แหละบัณฑิตผู้มีปัญญา ละความประมาทเสียได้ด้วยความไม่ประมาท ผู้ทรงปัญญานั้น ขึ้นสู่ปราสาทคือภูมิอันสูงของปัญญา แลลงมาเห็นพาลชนเป็น อันมาก ไม่กระวนกระวาย ไม่ทุรนทุรายกระสับกระส่าย เห็นหมู่สัตว์ผู้ทุรนทุราย ...เห็นชัด เหมือนคนขึ้นภูเขามองลงมาข้างล่าง เห็นคนอยู่บนภาคพื้น ฉันใดก็ ฉันนั้น เห็นปรากฏอย่างนี้นี่ผู้มีปัญญาเรียกว่า ปญฺญา ปาสาทมารุยห ขึ้นสู่ ปัญญาเพียงปราสาท ได้เพียงนี้ปราสาทปัญญาอันนี้นะ รู้จริงเห็นจริงตามความ จริงทางพุทธศาสนา ปรากฏอย่างนี้”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More