ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 185
ศีลเห็น ละเอียดล้ำกว่าศีลรู้มาก ใสเป็นกระจกส่องหน้า ศีลเห็น เรียก อธิศีล ในกลางดวง
อธิศีลมีดวงอธิจิต ในกลางดวงอธิจิตมีดวงอธิปัญญา เข้าถึงได้เท่ากับมีศีล สมาธิ ปัญญา เอาตัว รอดพ้น
ทุกข์ได้ เพราะเห็นศีลแล้ว
๓. ความเลื่อมใสในสงฆ์
๓.๑ ความเลื่อมใสในสงฆ์สมมติ
-
การมาถวายภัตตาหารพระภิกษุ ได้เห็นพระเณรมากมาย จึงเลื่อมใสว่า เราได้บุญมาก
ทานของเราเป็นอายุพระศาสนาเพียงไร
- เลื่อมใสว่า การเข้ามาอยู่ในหมู่สงฆ์นี้ดีจริง จึงกล้าทิ้งลูกภรรยามาบวช เช่นพระวิลเลี่ยม
กปิลวฑโฒ ละเพศฝรั่ง ลูกเมีย มาบวชเป็นพระไทย
- อุบาสก อุบาสิกา มาฟังธรรม เพราะเลื่อมใสในพระสงฆ์
๓.๒ ความเชื่อในสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง
ที่เรียกว่า สังฆรัตนะ เป็นธรรมกาย หน้าตักโตเล็กตามส่วน กลาง “ธรรมกาย” มีดวงธรรม
รัตนะ กลางดวงธรรมรัตนะมี “ธรรมกายละเอียด” ที่ละเอียดกว่า สะอาดกว่า งามกว่า
ธรรมกายละเอียด เป็น “สังฆรัตนะ”
ธรรมกายหยาบ เป็น “พุทธรัตนะ” เป็นตัวยืนของพุทโธ รู้สัจธรรมทั้ง ๔ โดยอาศัยญาณ
กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
๓
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เป็น “ธรรมรัตนะ” เมื่อเข้าถึงพระธรรม ก็บังคับ ให้ทำดีอย่าง
เดียวด้วยกาย วาจา ใจ
สังฆรัตนะ (ธรรมกายละเอียด) นั่นเอง รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะ (ธรรมกายองค์
หยาบ) ไม่ให้หาย อยู่ในกลางดวงนั้น
รักษาดวงนั้นได้ ท่านยืนยันว่า “ธมฺโม สงเฆน ธาริโต” ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้
ผู้ใดเลื่อมใสในธรรมกายละเอียด จึงได้ชื่อว่า เลื่อมใสในพระสงฆ์
๔. ความเห็นธรรม หรือความเห็นตรง
คือ เห็นธรรมรัตนะ เป็นการเห็นตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่คลาดเคลื่อน
ต่อพระนิพพาน “ผู้ใดเข้าถึงพระธรรม บุคคลนั้นละทุจริตกาย วาจา ใจได้ ทำแต่ความดีฝ่ายเดียว”
อริยทรัพย์ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลใดจะไม่ขัดสน ไม่ยากจน แม้บุคคลผู้มีทรัพย์สินเงิน
ทอง มากมายก็มิอาจสู้ได้ พระเณร อุบาสกอุบาสิกา มีทรัพย์อย่างนี้ เอิบอิ่มปลาบปลื้มอยู่กับใจ
ไม่ต้อง สะดุ้งกลัวเหมือนมีทรัพย์อื่น เพราะเหตุว่าของเหล่านี้อยู่กับใจ ลักไม่ได้ ปล้นไม่ได้ เป็นของ
จริงอยู่อย่างนี้
อโมฆน ตสฺสชีวิต ฯ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น ไม่เปล่าประโยชน์
ความเป็นอยู่ของคนมีธรรม ๔ ประการ แม้เป็นอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง ดีกว่าบุคคลอื่นที่ไม่มีธรรม
๑๐๐ ปี ก็ไม่ประเสริฐ
นี้ มีชีวิตอยู่
ท้ายพระบาลีรับรองว่า ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญจ ฯ