การทำสมาธิและการนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 รวมพระธรรมเทศนา 1  หน้า 37
หน้าที่ 37 / 59

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงวิธีการทำสมาธิที่เกี่ยวข้องกับการนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 โดยเริ่มจากการจินตนาการเส้นด้ายสองเส้นที่ตัดกัน และนำจุดตัดนั้นมาทาบนิ้วอย่างถูกวิธีเพื่อสร้างภาพของดวงแก้วที่ใสบริสุทธิ์ การภาวนาศัพท์ว่า 'สัมมาอะระหัง' พร้อมกับการทำจิตใจให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดังกล่าว เพื่อเข้าถึงความสงบและชัดเจนของจิตใจ ตลอดจนการนึกถึงพระพุทธรูปที่สามารถช่วยให้จิตรู้สึกมั่นคงและอยู่ในสมาธิได้ การทำบุญและการรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพที่ดีนั้นเชื่อมโยงกับการพบความสุขและความสงบในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความสำคัญในการทำความดีและการเห็นความหมดจดแห่งการกระทำของตนในทางที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
-การจินตนาการดวงแก้ว
-การภาวนา
-ความสำคัญของการทำบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พ 5 : 5 1 0 0 า ว น า วิ สุ ท ธิ์ ( ห ล ว ง พ่ อ ธั ม ม ม โ ย ) 37 แล้วก็นึกสมมติว่าเราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จาก สะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้ เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดเล็กเท่ากับปลายเข็ม ตำแหน่งนั้น เรียกว่าฐานที่ 5 ให้นึกยกจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสองขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดย สมมติเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางวางซ้อนกัน แล้วนำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้าย ทั้งสอง สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้แหละเรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่ง เป็นที่ตั้งที่ถาวรของใจ เพราะฉะนั้นถ้าหลวงพ่อพูดถึงฐานที่ ๗ ก็หมายเอา ตรงนี้ ให้เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ทีเดียว กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจ เป็นดวงแก้วใส บริสุทธิ์ ประดุจ เพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว โตเท่ากับแก้วตาของเรา กำหนดก็คือการนึกว่า ตรงฐานที่ ๗ มีดวงแก้วใสบริสุทธิ์ตั้งอยู่ที่ตรงนั้น เวลานึก ก็ให้นึกอย่างสบายๆ เบาๆ ให้ใจเบิกบานแช่มชื่น พร้อมกับภาวนาในใจว่า สัมมา อะระหังๆ ๆ โดยให้เสียงของ คำภาวนาดังออกมาจากจุดกึ่งกลางของดวงแก้ว สัมมาอะระหังๆ ๆ ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง พอใจหยุด นิ่งดีแล้ว คำภาวนาก็จะค่อยๆ เลือนหายไป เราก็ไม่ต้องกลับมาภาวนาใหม่ ให้รักษาใจหยุด ใจนิ่ง เฉย อย่างเดียว บางท่านที่ชอบนึกองค์พระ เราอาจจะนึกถึงพระ พุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา หรือนึกถึงองค์พระที่เราคุ้นเคย อาจจะเป็นพระแก้วใสๆ ก็ได้ โดยนึก อาราธนาท่านมาไว้ในกลางกาย เป็นองค์พระปางสมาธิ นั่งหันหน้าออกไป ทางเดียวกับตัวของเรา ดูภาพองค์พระไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่อง อย่าให้เผลอจากใจ ส่วนท่านที่ไม่ถนัดในการนึกถึงดวงแก้วหรือองค์พระ อยาก จะวางใจหยุดนิ่งเฉยๆ ก็ให้ทำใจหยุดนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ ตรงศูนย์กลาง กายฐานที่ ๗ นะจ๊ะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า “ผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว ย่อมเป็นผู้บันเทิงอยู่ในโลกนี้ แม้ละโลกไป แล้ว ก็ไปบันเทิงต่อในโลกหน้า เขาย่อมเป็นผู้บันเทิงในโลกทั้งสอง เพราะเห็นความหมดจดแห่งการกระทำของตน”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More