การศึกษาและชีวิตที่มีแก่นสารในพระพุทธศาสนา รวมพระธรรมเทศนา 2 หน้า 91
หน้าที่ 91 / 99

สรุปเนื้อหา

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) กล่าวถึงการศึกษากิจในทางพระพุทธศาสนา โดยเน้นว่าการปฏิบัติอย่างตั้งใจจริงและไม่ประมาทจะนำสู่ผลสำเร็จในชีวิต การทำงานเพื่อปัจจัยพื้นฐานอาจทำให้เราหลงลืมสิ่งที่สำคัญ เช่น การตั้งคำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตจริงๆ การปฏิบัติธรรมจะเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้เรามองเห็นเป้าหมายที่แท้จริงในชีวิต ส่งผลให้ชีวิตมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาพระพุทธศาสนา
-ความหมายของชีวิต
-การปฏิบัติธรรม
-การทำงานและปัจจัยพื้นฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมพระธรรมเทศนา ๒ : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 91 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับ เสลพราหมณ์ ว่า “พรหมจรรย์อันเรากล่าวดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะ จึงเห็นเอง เป็นธรรมอันไม่จำกัดด้วยกาล ผู้ใดศึกษา โดย ไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมไม่เป็นโมฆะ” การศึกษากิจในทางพระพุทธศาสนานั้น ถ้าผู้ศึกษา มีความตั้งใจจริง มีความเพียร ไม่ประมาท ย่อมได้ผล แห่งการปฏิบัติจริง สิ่งที่ได้ทุ่มเทลงไปนั้น ย่อมไม่สูญเปล่า ชีวิตไม่เป็นโมฆะ เป็นชีวิตที่มีแก่นสารทีเดียว เราเคยคิดไหมว่าชีวิตนี้เราต้องการอะไร คนใน โลกนี้ส่วนใหญ่ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาก็ออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพ เช้า สาย บ่าย ค่ำา ทํางานตลอดทั้งวัน เลิกงาน กลับบ้าน ก็พักผ่อนนอนหลับ ครั้นเริ่มวันใหม่ก็ทำอย่างนี้อีก ชีวิต วนเวียนเวียนวนกันอยู่อย่างนี้ บางท่านชีวิตเป็นอย่างนี้ไป จนตลอดชีวิต ยังไม่รู้เลยว่าชีวิตนี้ที่แท้จริงต้องการอะไร และทุ่มเททำทุกสิ่งทุกอย่างไปเพื่ออะไร การทำงานในชีวิตประจำวันของชาวโลก โดยทั่วไป เพื่อให้ได้ปัจจัยสี่มาหล่อเลี้ยงร่างกาย คือ ให้ได้อาหาร ที่ อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งชีวิตเราก็ต้องลำบาก และทุกสิ่งที่ได้มาเพื่อบรรเทาความทุกข์ของเรา เนื่องจาก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More