พระธรรมเทศนา ๒ : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) รวมพระธรรมเทศนา 2 หน้า 92
หน้าที่ 92 / 99

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความหมายของความทุกข์และความสุขในชีวิต โดยเน้นที่ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ การใช้ทรัพย์ การไม่เป็นหนี้ และการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามศีลธรรม ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในชีวิตของผู้ครองเรือนเพื่อความสุขที่แท้จริงในชีวิตประจำวันที่ทุกคนปรารถนา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-พื้นฐานชีวิต
-ความสุขผู้ครองเรือน
-พระธรรมเทศนา
-เหตุแห่งความสุข
-พระสัมมา สัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมพระธรรมเทศนา ๒ : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 92 พื้นฐานของทุกชีวิต คือ ความทุกข์ เหมือนกับพื้นฐานของ โลก คือ ความมืด ดังนั้น มนุษย์จึงปรารถนาความสุข ซึ่งความสุข ของผู้ครองเรือนนั้น เกิดจากเหตุ ๔ ประการ ที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกว่า “สุขของคฤหัสถ์” คือ ความสุขจากการมีทรัพย์ คือ เมื่อได้ทรัพย์มา ก็ เก็บออมไว้ ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจ สุขกายสบายใจว่าทรัพย์ ของเรานั้นมีอยู่ ชีวิตจะได้ไม่ต้องลำบาก ความสุขจากการใช้ทรัพย์ คือ ได้ใช้จ่ายตาม ปรารถนา อยากได้อะไรก็ซื้อเอา มีทรัพย์มากถึงคราวจะ ทำอะไรก็คล่องตัว ไม่ติดขัด สะดวกสบายทุกอย่าง ความสุขจากการไม่เป็นหนี้ คือ ไม่ต้องไปยืมเงิน ใคร จึงไม่ต้องกังวลในการหาทรัพย์มาใช้คืน และก็ไม่เป็น ทุกข์ใจเวลาเจ้าหนี้มาทวงเงินคืน ความสุขจากการประกอบอาชีพที่ไม่มีโทษ ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย เกิดความสุข ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง คอ ความสุขทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นความสุขพื้นฐานในชีวิต ประจำวันของผู้ครองเรือน ซึ่งยังไม่ใช่คำตอบของการมี ชีวิตอยู่ เพราะการดำรงชีวิตของเรานั้นน่าจะมีความสุขที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More