พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับตนและที่พึ่ง รวมพระธรรมเทศนา 2 หน้า 34
หน้าที่ 34 / 99

สรุปเนื้อหา

พระราชภาวนาวิสุทธิ์อภิปรายถึงกายธรรมสิบประเภทของพระอริยบุคคล ซึ่งทั้งหมดถือเป็นตนที่แท้จริงและเป็นที่พึ่งที่ถูกต้องสำหรับชีวิต การเปรียบเทียบกับการลอยคอในมหาสมุทรช่วยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีที่ยึดที่เกาะที่มอบความคลายเครียด และการที่เราต้องพึ่งพาตนที่หลุดพ้นออกไปจากภพเพื่อความสุขที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

- กายธรรมของพระโสดา
- กายธรรมของพระสกทาคามี
- กายธรรมของพระอนาคามี
- กายธรรมของพระอรหันต์
- การหาที่พึ่งในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมพระธรรมเทศนา ๒ : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 34 กายธรรมพระโสดาก็เป็นตน กายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นตน กายธรรมพระสกทาคาก็เป็นตน กายธรรมพระ สกทาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัต ก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัตละเอียดก็เป็นตน ทั้ง ๑๐ กายนี้เป็นตนโดยวิมุตติ ไม่ใช่ตนโดย สมมติ เป็นตนที่หลุดพ้นออกไปจากภพแล้ว ตนนี้แหละ เป็นเกาะเป็นที่พึ่งที่แท้จริง เราลองนึกถึงคนที่แล่นเรือไปกลางมหาสมุทร แล้วเผอิญเรือเกิดล่ม ทุกคนต่างลอยคออยู่ในมหาสมุทร อะไรลอยผ่านมาก็คว้าไว้หมด เพราะปรารถนาจะมีที่ยึดที่ เกาะ ยิ่งถ้าหากว่ายน้ำไป จนกระทั่งพบเกาะกลางมหา สมุทรเข้า ก็ยิ่งชื่นอกชื่นใจ รีบขึ้นบนเกาะนั้นโดยเร็วพลัน ทีเดียว เพราะได้เกาะ ได้ที่อาศัยแล้ว ไม่อย่างนั้นจะต้อง ว่ายน้ำเหน็ดเหนื่อยอยู่ในมหาสมุทรแทบขาดใจ ถ้าขึ้น เกาะได้แล้วก็หายเหนื่อย เกาะนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นพึ่งไม่ได้เลย เรา ทั้งหลายก็อาศัย “ตน” ที่กล่าวมาแล้วนี่แหละเป็นเกาะเป็น ที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More