การเข้าใจ 'ตน' ในพระพุทธศาสนา รวมพระธรรมเทศนา 2 หน้า 33
หน้าที่ 33 / 99

สรุปเนื้อหา

ในพระธรรมเทศนานี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า 'ตน' โดยมีวรรคจากทีฆนิกายที่สอนให้คนมีตนเป็นที่พึ่ง ทั้งยังอธิบายในแง่ของกายมนุษย์และกายทิพย์ว่าเป็น 'ตน' ด้วย ทั้งสี่กายในภพมีความไม่แน่นอน จึงไม่เป็นที่พึ่งที่แท้จริง แต่ยังมี 'ตน' ที่อยู่นอกภพอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'ตน' จึงสำคัญต่อการเข้าถึงธรรมและการปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของตน
-พระพุทธศาสนา
-อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
-กายมนุษย์และกายทิพย์
-ธรรมเป็นที่พึ่ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมพระธรรมเทศนา ๒ : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 33 “ถ้าจะหาตัวเองก็นั่งลงชิ เราจะบอกให้ พระองค์ได้ตรัสถึงคำว่า “ตัว” หรือ “ตน” ไว้ใน ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่า “อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนุญญสรณา ธมฺมที่ป่า ธมมสรณา อนุญฺญสรณา เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งอยู่” คําว่า “ตน” นี้หมายถึงอะไร หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญได้พบว่า กายมนุษย์นี่ก็เรียกว่าตน กายมนุษย์ ละเอียดก็เรียกว่าตน กายทิพย์ก็เรียกว่าตน กายทิพย์- ละเอียดก็เรียกว่าตน กายรูปพรหมก็เรียกว่าตน กายรูป พรหมละเอียดก็เรียกว่าตน กายอรูปพรหมก็เรียกว่าตน กายอรูปพรหมละเอียดก็เรียกว่าตน ทั้ง ๔ กายนี้เป็นคนที่อยู่ในภพ ซึ่งตนที่อยู่ใน ภพนี้เป็นตนโดยสมมติ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ยังเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ส่วน “ตน” ที่อยู่นอกภพออกไปยังมีอีก กาย ธรรมโคตรภู่ก็เป็นตน กายธรรมโคตรภูละเอียดก็เป็นตน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More