วิสุทธิวาจา 1: การหลอกตัวเองในธรรม วิสุทธิวาจา 1 หน้า 43
หน้าที่ 43 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการไม่หลอกตัวเองเมื่อมองหาความสุขในชีวิต โดยเน้นว่าความประพฤติที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่ความทุกข์แทน ผู้ปฏิบัติธรรมควรตั้งใจและตรงไปตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา เพื่อที่จะไม่ได้หลอกตัวเองและผู้อื่น การเข้าใจพุทธธรรมจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการหลอกตัวเองได้

หัวข้อประเด็น

-การหลอกตัวเอง
-ความสุขและทุกข์
-การประพฤติธรรม
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิสุทธิวาจา 1 43 ๒๓ หลอกตัวเอง ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้ รู้จักหลักจริงอันนี้ เราเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ เห็นดวงแก้วใสเช่น นี้ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไป อุบาสกอุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่ อยู่กับธรรมอยู่เนืองนิตย์ ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขว ไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคงอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปสงสัย หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ? ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเอง อยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยม นั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ใน เงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธ ศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำ ไว้ให้มั่น จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม” ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More