ความหมายของธรรมกายในพระพุทธศาสนา วิสุทธิวาจา 1 หน้า 82
หน้าที่ 82 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับองค์ความรู้ในพระพุทธศาสนาที่เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีลาภและสวัสดิการเปรียบเสมือนใบ ดอก ผล ที่เป็นที่ต้องการของผู้คน โดยชี้ให้เห็นว่าการเข้าถึงพระธรรมวินัยมีความสำคัญต่อชีวิต และหากเพียงแต่เพลิดเพลินอยู่กับสิ่งพื้นฐานเช่นการกินและนอน ก็อาจจะทำให้หลงลืมเรื่องสำคัญเกี่ยวกับมรรคผลในพระพุทธศาสนาไป การทำให้เกิดธรรมกายถือเป็นแก่นที่สำคัญ ซึ่งเป็นการยึดถือแก่นสารของตนเอง.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของธรรมกาย
-การใช้ปัญญาในพระพุทธศาสนา
-ลักษณะของพระธรรมวินัย
-การเข้าถึงธรรมชาติของใจ
-ความสำคัญของมรรคผล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

82 วิสุทธิวาจา 1 ៥៦ เป็นธรรมกาย....เป็นแก่น พระพุทธศาสนาท่านอุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยใบแก่ อ่อน ดอก ผล ที่นกประชุมชนต้องการได้ทั้งนั้น ถ้าว่าคนไม่มีปัญญาเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ก็มัว รับประทานใบไม้น่ะอ่อนแก่ตามประสงค์ของตัว นี่คนมีปัญญาน้อย คนไม่มี ปัญญา ถ้าคนมีปัญญาแล้วก็ อ้อ...เป็นตามธรรมดาพระพุทธศาสนาสมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยลาภสักการต่างๆ เต็มอยู่ในพุทธศาสนานี้ ใครมาอยู่ในพระพุทธ ศาสนานี้ไม่ต้องทำนาทำเรือกทำสวน ค้าขายแต่อย่างหนึ่งอย่างใดในพุทธศาสนา มีบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหารทั้งนั้น ไม่ขาดตกบกพร่องอย่างใด ใน ถ้ามัวเพลินแต่กินแต่นอนเสียเช่นนี้ มรรคผลก็ไม่ได้ เสียเวลาไป นี่ทำให้มีให้เป็นธรรมกายขึ้นนั่นน่ะเป็นแก่น เป็นสาระของต้นไม้นั้น พุทธศาสนาเรียกว่าเป็นแก่นแน่นหนาทีเดียว ได้ชื่อว่ายึดไว้ได้ซึ่งแก่นสารของ ตนทีเดียว จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “กรณียเมตตาสูตร” ๑ มิถุนายน ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More