การปล่อยและการยึดมั่นในเบญจขันธ์ วิสุทธิวาจา 1 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 120

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการยึดติดในเบญจขันธ์ 5 ว่าเป็นต้นตอของทุกข์ และการปล่อยเบญจขันธ์เพื่อหลีกเลี่ยงทุกข์นั้นเป็นเรื่องยาก เช่นเดียวกับเด็กที่ยึดถ่านไฟไว้อย่างแน่นหนา จนทำให้ตัวเองได้รับความเจ็บปวด จากพระธรรมเทศนาเรื่อง 'ภารสุตตคาถา' ที่เสนอประเด็นเกี่ยวกับความยากในการปล่อยสิ่งที่เรายึดมั่น.

หัวข้อประเด็น

-การยึดมั่นในเบญจขันธ์
-ทุกข์และสุข
-การปล่อยและการไม่ปล่อย
-การเปรียบเทียบกับเด็กที่กำไฟ
-พระธรรมเทศนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

38 วิสุทธิวาจา 1 ๑๗ เหมือนเด็กกำไฟ ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ ๕ นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่ เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็น เหมือนอะไร? เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนยิ่งหนักกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหาย ใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็ก กำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้เข้าไปรูหนึ่ง แล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็น หรือ มันไม่ปล่อย? ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ ปล่อยเหมือนกัน จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “ภารสุตตคาถา” ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More