วิสุทธิวาจา 1: นิพพานธาตุ วิสุทธิวาจา 1 หน้า 101
หน้าที่ 101 / 120

สรุปเนื้อหา

บทเรียนนี้พูดถึงธรรมชาติของนิพพานที่อยู่ในใจของเรา การแบ่งนิพพานออกเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเลสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ซึ่งทั้งสองนี้มีบทบาทสำคัญในวิถีการเข้าถึงความหลุดพ้น โดยผู้เขียนได้อธิบายถึงประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าที่ได้บรรลุนิพพานและการเดินทางเข้าสู่นิพพาน จากการปฏิบัติสมาธิและการละทิ้งกิเลสเพื่อไปสู่การเข้าถึงธรรมกายใหญ่ที่งดงาม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสถานะของนิพพานที่สูงขึ้นจากภพ 3 และมีความสำคัญต่อการช่วยเหลือสรรพสัตว์.

หัวข้อประเด็น

-ธรรมชาติของนิพพาน
-การหลุดพ้นจากกิเลส
-พระพุทธเจ้าและการบรรลุนิพพาน
-สอุปาทิเลสนิพพานธาตุ
-อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิสุทธิวาจา 1 101 นิพพานธาตุ นิพพานนะอยู่อย่างไรกัน อยู่ที่ไหน เขาว่านิพพานอยู่ในใจ คำว่านิพพานนะ นิขนต์ นิพพาน ใจของเราออกจากกิเลสเครื่อง ร้อยรัดได้เป็นตัวนิพพาน นี่กิเลสไม่อยู่กับใจเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่อง ร้อยรัดไปเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว จึงจะไปสู่นิพพานอีก ครั้งหนึ่ง นิพพานแยกออกเป็น ๒ คือ สอุปาทิเลสนิพพานธาตุ และอนุ ปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานแยกออกเป็น ๒ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระพุทธเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ว่าขันธปัญจกยังปรากฏอยู่ สั่งสอนเวไนย สัตว์อยู่ ๔๕ ปี ในระหว่างนั้นเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุทั้งนั้น เป็น สอุปาทิเสสนิพพาน ส่วนอนุปาทิเสสนิพพานล่ะ เมื่อพระพุทธเจ้าครบอายุ ๘๐ พรรษาแล้ว ที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานเดินสมาบัติทีเดียว ถึงกำหนดแล้วเข้าปรินิพพาน เดินสมาบัติ ปฐมฌาน รูปฌาน อรูปฌาน เดินถอยไปถอยมา นับครั้งนับหน ไม่ถ้วน เมื่อสมควรธรรมกายของท่านละเอียดสมควรแล้ว ก็ตกศูนย์มุบ พอตกศูนย์ อายตนนิพพานดึงดูดแล้ว เดี๋ยวโน่น ธรรมกายของ พระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ธรรมหายไปอยู่ในนิพพาน ศูนย์นั่นเข้าถึงกำเนิดนิพพาน กำเนิดนิพพานในกำเนิดนั้นมีว่าง ศูนย์เข้าไปตกอยู่ในนั้น กลับเป็นธรรมกายใหญ่ มโหฬาร หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใส จะว่าเป็นธรรมกายที่ โปรดสัตว์อยู่ที่นี่หรือที่ไปนิพพานนั่นนะ ที่เข้านิพพานไปแล้ว นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ ๓ เท่าภพ ๓ โตเท่ากับภพ ๓ นี่ สว่าง เป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงาม โตเท่ากับภพ ๓ นี่ จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “โอวาทปาฏิโมกข์” ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More