วิสุทธิวาจา 1: ธรรมเป็นหัวหน้า วิสุทธิวาจา 1 หน้า 63
หน้าที่ 63 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของธรรมในการใช้ชีวิตและการปฏิบัติธรรม เปรียบเทียบกับการใช้ไฟ ซึ่งสามารถให้ประโยชน์หรือทำให้เกิดอันตรายได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล กล่าวถึงการบูชาไฟและการปฏิบัติศาสนาต้องมีธรรมเป็นหัวหน้า การนำเสนอในรูปแบบการเทศนาจากพระธรรมเทศนา เรื่องเกณิยานุโมทนาคาถา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2497.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของธรรม
-การใช้ไฟในชีวิต
-การปฏิบัติศาสนา
-การบูชาไฟ
-อเวจีและมิจฉาทิฏฐิ
-นิปพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิสุทธิวาจา 1 63 ๓๘ ธรรมเป็นหัวหน้า ไฟเมื่อจุดขึ้นแล้ว ให้นึกถึงว่าไฟให้ความสว่างให้ประโยชน์แก่มนุษย์ มากนัก ใช้ถูกส่วนเข้าแล้วให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากนัก หุงต้มปิ้งได้ตามความ ปรารถนา ต้องการสิ่งใดได้ต้องตามความปรารถนา จะให้เป็นเรือยนต์เรือบิน ได้สมมาดปรารถนา ใช้ไฟได้ดังนี้ ถ้าใช้ไม่ดีไหม้บ้านไหม้ช่องก็ได้ ธรรมเหมือนกัน ถ้าใช้ดีก็วิเศษวิโสนักทีเดียว ให้สำเร็จมรรคผล ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ไปนิพพานได้สมเจตนา ถ้าทำไม่ดีก็คร่าไปโลกันต์เหมือนกัน ไปตกโลกันต์เหมือนพวกมิจฉาทิฏฐิ เหมือนกัน ประพฤติธรรมไม่ดีไม่ถูก ผิดธรรมไป ไปเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหมือนพระ เทวทัตปฏิบัติธรรม ทำพลาดธรรมไป ไปอยู่ในอเวจี พลาดธรรมไปอเวจีเหมือนกัน ผิดธรรมไป ถ้าว่าถูกธรรมดีแล้วละก็ ธรรมนั้นส่งให้รุ่งโรจน์โชตนาการ หาประมาณ มิได้ทีเดียว ธรรมน่ะ ถ้าจะกล่าวถึงส่วนแล้วละก็ ที่เรียกว่าการบูชาไฟ การ บูชามีไฟเป็นประมุขมีไฟเป็นหัวหน้า การปฏิบัติศาสนาก็มีธรรมเป็นประมุข มีธรรมเป็นหัวหน้าเหมือน กัน แบบเดียวกัน เหตุนี้เราปฏิบัติศาสนาต้องมีธรรมเป็นหัวหน้า ต้องมีธรรม เป็นประธาน ถ้าอยู่ในโลก การบูชาทั้งหลายเหล่านั้นมีไฟเป็นหัวหน้ามีไฟเป็น ประธาน แบบเดียวกันดังนี้ จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “เกณิยานุโมทนาคาถา” ๑๑ เมษายน ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More