เคารพสัทธรรมและความสำคัญของจิตสำนึก วิสุทธิวาจา 1 หน้า 87
หน้าที่ 87 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นถึงความสำคัญของการเคารพสัทธรรมซึ่งหมายถึงแนวทางทางจิตวิญญาณที่นำไปสู่ความเจริญในชีวิต หากมีความมั่นใจในสัทธรรมแล้ว ทุกข์ยากใด ๆ ก็สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะมีคนให้การช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูเอง ทำให้ก้าวผ่านอุปสรรคไปได้ โดยไม่ต้องกังวลใจ คำสอนนี้มาจากพระธรรมเทศนาเรื่อง “สัจจกิริยาคาถา” ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2497 ที่มีการกล่าวถึงการปักใจไว้ที่ธรรม และการไม่หวั่นไหวเมื่อเผชิญความยากลำบาก

หัวข้อประเด็น

-การเคารพสัทธรรม
-จิตสำนึกและความมั่นคง
-หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
-วิธีการรับมือกับความทุกข์
-อำนาจของการตั้งใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิสุทธิวาจา 1 87 50 เคารพสัทธรรมนั้นดีประเสริฐ เคารพสัทธรรมนั้น ดีประเสริฐอย่างไรหรือ? ดังกล่าวแล้วทุกประการ ถ้าว่าใครเคารพสัทธรรมละก็ไม่ต้องหาข้าว ไม่ต้องหาข้าวสารนะ ไม่ต้องเที่ยวขอเขานะ ไปนั่งอยู่คนเดียวในป่า เขาก็ต้อง เลี้ยง เขาก็ต้องเอาข้าวไปเลี้ยง เอาอาหารไปเลี้ยง เอาผ้าให้นุ่งห่ม อย่าไป ทุกข์ร้อนไปเลย ให้มั่นอยู่ในสัทธรรมเข้าเถิด สัทธรรมนี่แหละเป็นตัวสำคัญ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ พระพุทธเจ้าท่าน สำเร็จแล้ว ท่านเคารพสัทธรรมอย่างเดียว ใจท่านแน่นในกลางดวงสัทธรรม นั่นแหละ ก็อุบาสกอุบาสิกาเล่ายังไม่มีนี่ ธรรมขั้นสูงยังไม่มีกับเขา อยากจะได้สัทธรรม จะเอาใจไปจรดตรงไหนเล่า จุดศูนย์กลางของ กายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่กลางนั่นแหละ ให้เห็นดวงให้ได้ ถ้าไม่เห็นก็จรดอยู่กลางดวงนั่นแหละ อย่าไปจรดที่อื่น จะตัดหัวคั่วแห้งก็ไม่จรด ที่อื่น จะตัดหัวคั่วแห้ง เขาบอกว่าโน่นแน่ะ เจ็บไข้เต็มที่จะตายแล้ว หมอที่ โน้นแน่ะดีนัก ยิ้มเฉย ใจปักอยู่ที่ธรรมนั่น ปวดแข้งปวดขาใจปักเข้าไป ร้อง โอยๆ ก็ช่าง เขาบอกว่าโน้นแน่ะ ผู้เป่าเก่งอยู่ที่โน่นดีนัก ยิ้มเฉย ยิ้มแฉ่ง เอาใจปักอยู่ที่ธรรมนั่นแหละ ใครๆ ไม่ช่วยก็ปวดตายไปเถิด ไม่ได้เคลื่อนไปจากธรรม มั่นใจปักอยู่ที่ ธรรมนั่นเอง ขนาดนี้แม้จะไม่ถึงธรรมกาย ไม่มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังไม่เข้าถึง แต่ว่าเข้าถึงเช่นนี้ ถูกทางพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แน่นอนแล้ว เมื่อถูกทางเช่นนี้แล้วก็มั่นเชียว เคารพมั่นทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่ คลอนแคลน ไม่ท้อถอยละ จะเป็นจะตายก็ช่างเถิด มั่นอยู่กับธรรมรัตนะ กลางกายมนุษย์นั่นแหละ จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “สัจจกิริยาคาถา” ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More