วิสุทธิวาจา 1 - ความหมายของจิต วิสุทธิวาจา 1 หน้า 96
หน้าที่ 96 / 120

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้นำเสนอความหมายของจิตที่เปรียบเสมือนน้ำใส ซึ่งจะถูกระคนด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น ราคะ โทสะ และโมหะ ทำให้ความบริสุทธิ์ของจิตนั้นลดลง เมื่อจิตผสมกับอารมณ์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจ สิ่งนี้ถูกสอนในพระธรรมเทศนาเรื่อง "สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้" เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2497

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของจิต
-การระคอนด้วยอารมณ์ต่างๆ
-การเปรียบเทียบกับน้ำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

96 วิสุทธิวาจา 1 ៦៨ จิต คำว่าจิตนี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอก ใสเกินใส ปกติ มโน ใจเป็นปกติ คือภวังคจิต จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะ ใส เหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสีย แล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นหนา แล้ว เมื่อจิตระคนด้วยราคะ เหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะ เล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปนระคนเสีย จิตระคนด้วยโมหะ เหมือนน้ำตมเข้าไป ระคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้ ๑๙ กันยายน ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More