ข้อความต้นฉบับในหน้า
54
วิสุทธิวาจา 1
๓๑
ไม่กลับกลอก
ธมฺมกาโย อห์ อิติปิ เราผู้ตถาคต คือ ธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือ
ธรรมกาย เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อธรรม
กาย ให้เห็นธรรมกาย ให้เป็นธรรมกาย ถ้าเห็นธรรมกาย เป็นธรรมกายแล้ว
แก้ไขธรรมกายนั่นให้สะอาดให้ผ่องใสหนักขึ้น อย่าให้ยุ่งอย่าให้มัวหมอง
ถ้าเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง อย่างนั้นยังง่อนแง่น ยังใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเสีย
แจ่มใสบริสุทธิ์ ไม่มีราคีเหมือนกระจกส่องเงาหน้า เจ้าของเห็นเวลาไรแล้วยิ้ม
จ้าเวลานั้น ไม่ได้ซูบซีดเศร้าหมองเลย ผ่องใสอย่างนี้ เชื่อลงไปขนาดนี้นี่เป็น
ที่พึ่งของเราจริง สิ่งอื่นไม่มี ให้แน่นอนลงไปเสียอย่างนี้
เมื่อแน่นอนลงไปเช่นนี้แล้ว ก็เห็นธรรมกายนั่นเองเป็นใหญ่ สิ่งอื่น
เป็นใหญ่กว่านี้ไม่มี หมดทั้งสากลโลก หมดในธาตุในธรรม ที่จะเป็นใหญ่กว่า
ธรรมกายนี้ไม่มี ให้แน่นอนเสียในใจอย่างนี้ มั่นคงลงไปอย่างนั้น ไม่ง่อนแง่นไม่
คลอนแคลนจริงลงไปอย่างนั้น แล้วใจต้องนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้
เป็นธรรมกายทีเดียว ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืนไม่ลุก ลืมตาก็แจ่มอยู่กับธรรมกายนั่น
เมื่อนอนหลับเข้าก็แล้วไป เข้าที่ไปจนกระทั่งหลับอยู่กับธรรมกาย
ตื่นขึ้นก็ติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นแจ่มจ้าอยู่เสมอ นี่แหละ
เจอแล้วซึ่งพระตถาคตเจ้า นั่นตัวพระตถาคตเจ้าทีเดียว
เมื่อเชื่อลงไปเช่นนี้เรียกว่า ไม่กลับกลอก ถ้าไม่กลับกลอกต้องทำสูงหนัก
ขึ้นไป ไม่กลับกลอก แต่ตอนต้น แต่ว่ายังเป็นโคตรภูบุคคลยังกลับกลอกอยู่
ให้เข้าถึงพระโสดาเสียจึงจะไม่กลับกลอก เข้าถึงพระโสดาก็ใกล้กับโคตรภู
เข้าถึงพระสกทาคาเสียนั่นจึงจะแน่นแฟ้นขึ้น ถึงพระสกทาคาแล้วก็ยังมีกามราคะ
พยาบาทอย่างละเอียดอยู่ ให้ถึงพระอนาคาเสีย กามราคะ พยาบาทอย่าง
ละเอียดหมดไป แต่ว่ายิ่งไม่ถึงวิราคธาตุ วิราคธรรมได้